เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [1. นิทานสังยุต]
3. ทสพลวรรค 3. อุปนิสสูตร

ของเราทั้งหลายนี้ เป็นของไม่ต่ำทราม ไม่เป็นหมัน มีผล มีกำไร จักมีแก่เรา
ทั้งหลาย เราทั้งหลายบริโภคจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัช-
บริขารของชนเหล่าใด สักการะของชนเหล่านั้น จักมีผลมาก มีอานิสงส์มาก เพราะ
เราทั้งหลาย’ เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกดังพรรณนามาฉะนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้พิจารณาเห็นประโยชน์ของตน สมควรแท้ เพื่อที่จะ
ทำกิจของตนให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท หรือว่าบุคคลผู้พิจารณาเห็นประโยชน์
ของผู้อื่น สมควรแท้ เพื่อที่จะทำกิจของผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท หรือ
บุคคลผู้พิจารณาเห็นประโยชน์ทั้ง 2 ฝ่าย สมควรแท้ที่จะทำกิจของทั้ง 2 ฝ่าย
ให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท”

ทุติยทสพลสูตรที่ 2 จบ

3. อุปนิสสูตร
ว่าด้วยธรรมที่อาศัยกัน

[23] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย เราเมื่อรู้เห็น จึงกล่าวถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
เราเมื่อไม่รู้เห็น จึงไม่กล่าวถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
เมื่อรู้เห็นอะไร ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายจึงมี คือ เมื่อเรารู้เห็นอย่างนี้ว่า
‘รูปเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งรูปเป็นอย่างนี้ ความดับแห่งรูปเป็นอย่างนี้
เวทนาเป็นอย่างนี้ ฯลฯ
สัญญาเป็นอย่างนี้ ฯลฯ
สังขารเป็นอย่างนี้ ฯลฯ
วิญญาณเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณเป็นอย่างนี้ ความดับแห่ง
วิญญาณเป็นอย่างนี้’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 16 หน้า :40 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [1. นิทานสังยุต]
3. ทสพลวรรค 3. อุปนิสสูตร

เราเมื่อรู้เห็นอย่างนี้แล ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายจึงมี
เมื่อธรรมเป็นที่สิ้นไป1 มีอยู่ ขยญาณ(ญาณในธรรมเป็นที่สิ้นไป) แม้ใด ย่อมมี
เรากล่าวว่าขยญาณแม้นั้นมีที่อาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีที่อาศัย อะไรเล่าเป็นที่อาศัย
แห่งขยญาณ สิ่งนั้นควรเรียกว่า ‘วิมุตติ‘2
เรากล่าวว่าแม้วิมุตติก็มีที่อาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีที่อาศัย อะไรเล่าเป็นที่อาศัย
แห่งวิมุตติ สิ่งนั้นควรเรียกว่า ‘วิราคะ‘3
เรากล่าวว่าแม้วิราคะก็มีที่อาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีที่อาศัย อะไรเล่าเป็นที่อาศัย
แห่งวิราคะ สิ่งนั้นควรเรียกว่า ‘นิพพิทา‘4
เรากล่าวว่าแม้นิพพิทาก็มีที่อาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีที่อาศัย อะไรเล่าเป็นที่
อาศัยแห่งนิพพิทา สิ่งนั้นควรเรียกว่า ‘ยถาภูตญาณทัสสนะ‘5
เรากล่าวว่าแม้ยถาภูตญาณทัสสนะก็มีที่อาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีที่อาศัย อะไร
เล่าเป็นที่อาศัยแห่งยถาภูตญาณทัสสนะ สิ่งนั้นควรเรียกว่า ‘สมาธิ’
เรากล่าวว่าแม้สมาธิก็มีที่อาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีที่อาศัย อะไรเล่าเป็นที่อาศัย
แห่งสมาธิ สิ่งนั้นควรเรียกว่า ‘สุข’
เรากล่าวว่าแม้สุขก็มีที่อาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีที่อาศัย อะไรเล่าเป็นที่อาศัย
แห่งสุข สิ่งนั้นควรเรียกว่า ‘ปัสสัทธิ‘6
เรากล่าวว่าแม้ปัสสัทธิก็มีที่อาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีที่อาศัย อะไรเล่าเป็นที่
อาศัยแห่งปัสสัทธิ สิ่งนั้นควรเรียกว่า ‘ปีติ’