เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [9. โอปัมมสังยุต] 10. พิฬารสูตร

ย่อมไม่มี(ประโยชน์)ต่อผิวพรรณและกำลัง1ของภิกษุนวกะเหล่านั้น เธอทั้งหลายจึง
ถึงความตายหรือทุกข์ปางตายเพราะการบริโภคนั้น
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า ‘เราทั้งหลายจักไม่
กำหนัด ไม่หมกมุ่น ไม่พัวพัน มีปกติเห็นโทษ มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดออกบริโภค
ลาภนั้น’ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”

นาคสูตรที่ 9 จบ

10. พิฬารสูตร
ว่าด้วยแมว

[232] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเที่ยวไปในตระกูลเกินเวลา ภิกษุทั้งหลายจึงกล่าวตักเตือน
เธอว่า ‘ท่านอย่าเที่ยวไปในตระกูลเกินเวลาเลย’ เธอถูกภิกษุทั้งหลายกล่าวตักเตือน
(แต่)ยังไม่เลิก ลำดับนั้น ภิกษุจำนวนมากเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุรูปหนึ่งในพระธรรมวินัยนี้เที่ยวไปในตระกูลเกิน
เวลา ภิกษุทั้งหลายกล่าวตักเตือนเธอว่า ‘ท่านอย่าเที่ยวไปในตระกูลเกินเวลา’ เธอ
ถูกภิกษุทั้งหลายกล่าวตักเตือนจึงไม่พอใจ”


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [9. โอปัมมสังยุต] 10. พิฬารสูตร

“ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ได้มีแมวยืนคอยจับลูกหนูอยู่ที่กองหยาก
เยื่อข้างทางระบายคูถจากบ้าน ระหว่างเรือนสองหลังต่อกัน ด้วยคิดว่า ‘ลูกหนูนี้จัก
ไปหาเหยื่อในที่ใด เราจักจับมันกินในที่นั้น’ ต่อมา ลูกหนูออกไปหาเหยื่อ แมวก็จับ
ลูกหนูนั้นแล้วรีบกัดกลืนลงไป ลูกหนูก็กัดทั้งไส้ใหญ่และไส้น้อยของแมวนั้น แมวนั้น
จึงถึงความตายหรือทุกข์ปางตายเพราะการกินนั้น
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ก็เหมือนกัน เวลาเช้าครองอันตรวาสกถือบาตรและ
จีวร ไม่รักษากายวาจาจิต ไม่ตั้งสติให้มั่นคง ไม่สำรวมอินทรีย์เข้าไปบิณฑบาตยัง
บ้านหรือนิคม เธอเห็นมาตุคามนุ่งห่มไม่เรียบร้อยในที่นั้น ราคะก็รบกวนจิตของเธอ
เพราะเห็นมาตุคามนุ่งห่มไม่เรียบร้อย เธอถูกราคะรบกวนจิต จึงถึงความตายหรือ
ทุกข์ปางตาย การที่เธอบอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์นั้น จัดเป็นความตายใน
วินัยของพระอริยะ การที่เธอต้องอาบัติเศร้าหมองอย่างใดอย่างหนึ่ง (และ) การประพฤติ
วัตรเพื่อออกจากอาบัติตามที่ต้องนั้น จัดเป็นทุกข์ปางตาย
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า ‘เราทั้งหลาย
จักรักษากายวาจาจิต ตั้งสติให้มั่นคง สำรวมอินทรีย์ เข้าไปบิณฑบาตยังบ้านหรือ
นิคม’ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”

พิฬารสูตรที่ 10 จบ