เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [9. โอปัมมสังยุต] 9. นาคสูตร

ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายจำนวนมากเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุนวกะรูปหนึ่งในพระธรรมวินัยนี้ เข้าไปสู่ตระกูล
เกินเวลา เธอถูกภิกษุทั้งหลายกล่าวตักเตือน จึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ภิกษุผู้เป็นเถระ
เหล่านี้จักสำคัญตนว่า ควรเข้าไปสู่ตระกูล ทำไมเราจักเข้าไปไม่ได้”
“ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว มีสระใหญ่ที่ชายป่าแห่งหนึ่ง ช้างทั้งหลาย
อาศัยสระนั้นอยู่ ช้างเหล่านั้นลงสู่สระนั้นแล้ว ใช้งวงถอนเหง้าและรากบัวขึ้น ล้างให้
ดีแล้ว เคี้ยวกินเหง้าและรากบัวที่ไม่มีโคลนตม อย่างเอร็ดอร่อย การกระทำอย่างนั้น
ย่อมมี(ประโยชน์)ต่อผิวพรรณและกำลังของช้างเหล่านั้น ช้างเหล่านั้นจึงไม่ถึงความ
ตายหรือทุกข์ปางตายเพราะการกินนั้น ส่วนลูกช้างเล็ก ๆ ทำตามช้างใหญ่เหล่านั้น
เหมือนกัน พวกมันลงสู่สระนั้นแล้ว ใช้งวงถอนเหง้าและรากบัวขึ้น (แต่)ไม่ล้างให้ดี
ไม่เคี้ยวให้ละเอียด กลืนทั้งโคลนตม การกระทำอย่างนั้นย่อมไม่มี(ประโยชน์) ต่อ
ผิวพรรณและกำลังของลูกช้างเหล่านั้น ลูกช้างเหล่านั้นจึงถึงความตายหรือทุกข์
ปางตาย เพราะการกินนั้น
ภิกษุผู้เป็นเถระในธรรมวินัยนี้ก็เหมือนกัน เวลาเช้าครองอันตรวาสกถือบาตร
และจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังบ้านหรือนิคม กล่าวธรรมในที่นั้น คฤหัสถ์ทั้งหลายผู้
เลื่อมใส ทำอาการของผู้เสื่อมใสแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายไม่กำหนัด ไม่หมกมุ่น
ไม่พัวพัน มีปกติเห็นโทษ มีปัญญาเครื่องสลัดออก บริโภคลาภนั้น การกระทำอย่างนั้น
ย่อมมี(ประโยชน์)ต่อผิวพรรณและกำลังของภิกษุผู้เป็นเถระเหล่านั้น เธอทั้งหลาย
จึงไม่ถึงความตายหรือทุกข์ปางตายเพราะการบริโภคนั้น ส่วนภิกษุทั้งหลายผู้ทำ
ตามภิกษุผู้เป็นเถระเหล่านั้นเหมือนกัน เวลาเช้าครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวร
เข้าไปบิณฑบาตยังบ้านหรือนิคม กล่าวธรรมในที่นั้น คฤหัสถ์ทั้งหลายผู้เลื่อมใส
ทำอาการของผู้เลื่อมใสแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายกำหนัด หมกมุ่น พัวพัน
มีปกติไม่เห็นโทษ ไม่มีปัญญาเครื่องสลัดออก บริโภคลาภนั้น การกระทำอย่างนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 16 หน้า :320 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [9. โอปัมมสังยุต] 10. พิฬารสูตร

ย่อมไม่มี(ประโยชน์)ต่อผิวพรรณและกำลัง1ของภิกษุนวกะเหล่านั้น เธอทั้งหลายจึง
ถึงความตายหรือทุกข์ปางตายเพราะการบริโภคนั้น
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า ‘เราทั้งหลายจักไม่
กำหนัด ไม่หมกมุ่น ไม่พัวพัน มีปกติเห็นโทษ มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดออกบริโภค
ลาภนั้น’ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”

นาคสูตรที่ 9 จบ

10. พิฬารสูตร
ว่าด้วยแมว

[232] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเที่ยวไปในตระกูลเกินเวลา ภิกษุทั้งหลายจึงกล่าวตักเตือน
เธอว่า ‘ท่านอย่าเที่ยวไปในตระกูลเกินเวลาเลย’ เธอถูกภิกษุทั้งหลายกล่าวตักเตือน
(แต่)ยังไม่เลิก ลำดับนั้น ภิกษุจำนวนมากเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุรูปหนึ่งในพระธรรมวินัยนี้เที่ยวไปในตระกูลเกิน
เวลา ภิกษุทั้งหลายกล่าวตักเตือนเธอว่า ‘ท่านอย่าเที่ยวไปในตระกูลเกินเวลา’ เธอ
ถูกภิกษุทั้งหลายกล่าวตักเตือนจึงไม่พอใจ”