เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [8. ลักขณสังยุต]
2. ทุติยวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

11. ปาปสามเณรีสูตร
ว่าด้วยเปรตมีรูปเป็นสามเณรีชั่ว1

[222] “ท่าน เมื่อกระผมลงมาจากภูเขาคิชฌกูฏ ได้เห็นสามเณรีเปรตลอย
ขึ้นสู่กลางอากาศ สังฆาฏิ บาตร ประคตเอว และร่างกายของมัน ถูกไฟติดลุกโชนจน
มันร้องครวญคราง กระผมมีความรู้สึกว่า ‘น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ที่มีสัตว์
เช่นนี้ มียักษ์เช่นนี้ มีการได้อัตภาพเช่นนี้อยู่’ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้รับสั่ง
เรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย สาวกทั้งหลายที่มีจักษุมีญาณก็ยัง
มีอยู่ เพราะสาวกที่รู้ที่เห็นนี้เป็นพยานได้ เมื่อก่อนเราก็เห็นสามเณรีเปรตนั้น แต่ไม่
พยากรณ์ เพราะการพยากรณ์นั้น จะไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล ซ้ำจะเป็นทุกข์ยาวนาน
แก่ผู้ที่ไม่เชื่อเรา
ภิกษุทั้งหลาย เปรตนั้นเคยเป็นสามเณรีชั่วในพระศาสนาของพระกัสสปสัมมา-
สัมพุทธเจ้า เพราะผลกรรมนั้น สามเณรีนั้นจึงตกนรกหมกไหม้อยู่หลายปี หลาย
ร้อยปี หลายพันปี หลายแสนปีแล้ว ได้รับอัตภาพเช่นนี้ เพราะเศษกรรมนั้น
ที่ยังเหลือ”

ปาปสามเณรีสูตรที่ 11 จบ
ทุติยวรรค จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

1. สสีสกสูตร 2. คูถขาทสูตร
3. นิจฉวิตถีสูตร 4. มังคุลิตถีสูตร
5. โอกิลินีสูตร 6. อสีสกสูตร
7. ปาปภิกขุสูตร 8. ปาปภิกขุนีสูตร
9. ปาปสิกขมานาสูตร 10. ปาปสามเณรสูตร
11. ปาปสามเณรีสูตร

ลักขณสังยุต จบบริบูรณ์


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [9.โอปัมมสังยุต] 1.กูฏสูตร 2. นขสิขสูตร

9. โอปัมมสังยุต
1. กูฏสูตร
ว่าด้วยเรือนยอด

[223] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย กลอนเรือนยอดอย่างใดอย่างหนึ่ง กลอนเรือนยอดเหล่านั้น
ทั้งหมดไปรวมที่ยอด เมื่อรื้อยอดเรือน กลอนเหล่านั้นทั้งหมดย่อมถึงการรื้อด้วย
ฉันใด
อกุศลธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง อกุศลธรรมเหล่านั้นทั้งหมด ล้วนมีอวิชชา
เป็นมูล มีอวิชชาเป็นแหล่งรวม เมื่ออวิชชาถูกถอน อกุศลธรรมเหล่านั้นทั้งหมด
ย่อมถึงการเพิกถอน ฉันนั้น
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า ‘เราทั้งหลาย
จักเป็นผู้ไม่ประมาทอยู่’ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”

กูฏสูตรที่ 1 จบ

2. นขสิขสูตร
ว่าด้วยฝุ่นติดปลายเล็บ

[224] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงใช้ปลายพระนขาช้อนฝุ่นขึ้นมาเล็กน้อยแล้วรับสั่ง
เรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่า
อย่างไร คือ ฝุ่นเล็กน้อยที่เราใช้ปลายเล็บช้อนขึ้นมานี้ กับมหาปฐพีนี้ อย่างไหน
มากกว่ากัน”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มหาปฐพีนี้นั้นแหละมีมากกว่า ฝุ่นเล็กน้อยที่พระองค์
ทรงใช้ปลายพระนขาช้อนขึ้นมานี้มีประมาณน้อย เมื่อเทียบกับมหาปฐพีแล้ว ฝุ่นที่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 16 หน้า :313 }