เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [7. ราหุลสังยุต]
2. ทุติยวรรค 2-10.รูปาทิสุตตนวกะ

“จักขุสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ โสตสัมผัสสชาเวทนา ... ฆานสัมผัสสชาเวทนา ...
ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา ... กายสัมผัสสชาเวทนา... มโนสัมผัสสชาเวทนา” ...
สูตรที่ 5 จบ
“รูปสัญญา ฯลฯ สัททสัญญา... คันธสัญญา... รสสัญญา... โผฏฐัพพสัญญา ...
ธัมมสัญญา” ...
สูตรที่ 6 จบ
“รูปสัญเจตนา (ความจำนงรูป) ฯลฯ สัททสัญเจตนา (ความจำนงเสียง) ...
คันธสัญเจตนา (ความจำนงกลิ่น) ... รสสัญเจตนา (ความจำนงรส) ... โผฏฐัพพ-
สัญเจตนา (ความจำนงโผฏฐัพพะ) ... ธัมมสัญเจตนา (ความจำนงธรรมารมณ์) ” ...
สูตรที่ 7 จบ
“รูปตัณหา ฯลฯ สัททตัณหา... คันธตัณหา... รสตัณหา... โผฏฐัพพตัณหา...
ธัมมตัณหา” ...
สูตรที่ 8 จบ
“ปฐวีธาตุ ฯลฯ อาโปธาตุ ... เตโชธาตุ ... วาโยธาตุ ... อากาสธาตุ ...
วิญญาณธาตุ” ...
สูตรที่ 9 จบ
“ราหุล รูป ฯลฯ เวทนา ... สัญญา ... สังขารทั้งหลาย ... วิญญาณเที่ยงหรือ
ไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ
“ราหุล อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ รู้ชัดว่า ฯลฯ ไม่มีกิจอื่นเพื่อความ
เป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

ขันธสูตรที่ 10 จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [7. ราหุลสังยุต]
2. ทุติยวรรค 11. อนุสยสูตร

11. อนุสยสูตร
ว่าด้วยอนุสัย

[200] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
ครั้งนั้น ท่านพระราหุลเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลรู้เห็นอย่างไร อหังการ1 มมังการ2 และ
มานานุสัย3 จึงไม่มีในกายที่มีวิญญาณครองนี้ และในสรรพนิมิตภายนอก”
“ราหุล รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นไปภายใน
หรือภายนอก หยาบ หรือละเอียด เลว หรือประณีต อยู่ไกล หรืออยู่ใกล้ รูป
ทั้งหมดนั้น อริยสาวกเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่
ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา”
เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ... สังขารเหล่าใด
เหล่าหนึ่ง ...
วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นไปภายใน
หรือภายนอก หยาบ หรือละเอียด เลว หรือประณีต อยู่ไกล หรืออยู่ใกล้ วิญญาณ
ทั้งหมดนั้น อริยสาวกเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่