เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [7. ราหุลสังยุต] 2. ทุติยวรรค 1. จักขุสูตร

2. ทุติยวรรค
หมวดที่ 2

1. จักขุสูตร
ว่าด้วยจักษุ

[198] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระราหุลได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามท่าน
พระราหุลดังนี้ว่า
“ราหุล เธอจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร จักขุเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะพิจารณา
เห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“โสตะ ฯลฯ ฆานะ ... ชิวหา ... กาย ... มโนเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะพิจารณา
เห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 16 หน้า :297 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [7. ราหุลสังยุต]
2. ทุติยวรรค 2-10.รูปาทิสุตตนวกะ

“ราหุล อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุ ฯลฯ
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโสตะ ... ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในฆานะ ... ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในชิวหา
... ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกาย ... ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโน เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลาย
กำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้วก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’
รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่น
เพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
[พึงย่อพระสูตรทั้ง 10 เช่นนี้]

จักขุสูตรที่ 1 จบ

2-10. รูปาทิสุตตนวกะ
ว่าด้วยพระสูตร 9 สูตรมีรูปสูตรเป็นต้น

[199] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ราหุล เธอจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ
“เสียง... กลิ่น... รส... โผฏฐัพพะ... ธรรมารมณ์” ...
สูตรที่ 2 จบ
“จักขุวิญญาณ ฯลฯ โสตวิญญาณ ... ฆานวิญญาณ ... ชิวหาวิญญาณ ...
กายวิญญาณ ... มโนวิญญาณ” ...
สูตรที่ 3 จบ
“จักขุสัมผัส ฯลฯ โสตสัมผัส... ฆานสัมผัส... ชิวหาสัมผัส... กายสัมผัส...
มโนสัมผัส” ...
สูตรที่ 4 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 16 หน้า :298 }