เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [7. ราหุลสังยุต] 1. ปฐมวรรค 9. ธาตุสูตร

8. ตัณหาสูตร
ว่าด้วยตัณหา

[195] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ราหุล เธอจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปตัณหาเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ
“สัททตัณหา ... คันธตัณหา ... รสตัณหา ... โผฏฐัพพตัณหา ... ธัมมตัณหา
เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ราหุล อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูปตัณหา
ฯลฯ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัททตัณหา ... ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในคันธตัณหา ... ย่อม
เบื่อหน่ายแม้ในรสตัณหา ... ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโผฏฐัพพตัณหา ... ย่อมเบื่อ
หน่ายแม้ในธัมมตัณหา ฯลฯ รู้ชัดว่า” ...

ตัณหาสูตรที่ 8 จบ

9. ธาตุสูตร
ว่าด้วยธาตุ

[196] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ราหุล เธอจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ปฐวีธาตุเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ
“อาโปธาตุ ... เตโชธาตุ ... วาโยธาตุ ... อากาสธาตุ ... วิญญาณธาตุ เที่ยง
หรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ราหุล อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในปฐวีธาตุ ฯลฯ
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในอาโปธาตุ ... ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเตโชธาตุ ... ย่อมเบื่อหน่าย
แม้ในวาโยธาตุ ... ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในอากาสธาตุ ... ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ-
ธาตุ ฯลฯ รู้ชัดว่า” ...

ธาตุสูตรที่ 9 จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [7. ราหุลสังยุต] 1. ปฐมวรรค  10. ขันธสูตร

10. ขันธสูตร
ว่าด้วยขันธ์

[197] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ราหุล เธอจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ
“เวทนา ... สัญญา ... สังขารทั้งหลาย ... วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะพิจารณา
เห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“ราหุล อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ฯลฯ ย่อม
เบื่อหน่ายแม้ในเวทนา ... ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัญญา ... ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน
สังขารทั้งหลาย ... ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด
เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้วก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัด
ว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อ
ความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

ขันธสูตรที่ 10 จบ
ปฐมวรรค จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

1. จักขุสูตร 2. รูปสูตร
3. วิญญาณสูตร 4. สัมผัสสูตร
5. เวทนาสูตร 6. สัญญาสูตร
7. สัญเจตนาสูตร 8. ตัณหาสูตร
9. ธาตุสูตร 10. ขันธสูตร