เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [7. ราหุลสังยุต]
1. ปฐมวรรค 7.สัญเจตนาสูตร

“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ราหุล อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูปสัญญา ฯลฯ
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัททสัญญา ... ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในคันธสัญญา ... ย่อมเบื่อหน่าย
แม้ในรสสัญญา ... ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโผฏฐัพพสัญญา ... ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน
ธัมมสัญญา ฯลฯ รู้ชัดว่า” ...

สัญญาสูตรที่ 6 จบ

7. สัญเจตนาสูตร
ว่าด้วยสัญเจตนา

[194] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ราหุล เธอจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปสัญเจตนา (ความจำนงรูป) เที่ยง
หรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ
“สัททสัญเจตนา (ความจำนงเสียง) ... คันธสัญเจตนา (ความจำนงกลิ่น) ...
รสสัญเจตนา (ความจำนงรส) ... โผฏฐัพพสัญเจตนา (ความจำนงโผฏฐัพพะ) ...
ธัมมสัญเจตนา (ความจำนงธรรมารมณ์) เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ราหุล อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูปสัญเจตนา
ฯลฯ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัททสัญเจตนา ... ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในคันธสัญเจตนา ...
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรสสัญเจตนา ... ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโผฏฐัพพสัญเจตนา ...
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในธัมมสัญเจตนา ฯลฯ รู้ชัดว่า” ...

สัญเจตนาสูตรที่ 7 จบ