เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [7. ราหุลสังยุต]
1. ปฐมวรรค 4. สัมผัสสสูตร

“ราหุล อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุวิญญาณ
ฯลฯ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโสตวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในฆานวิญญาณ ย่อม
เบื่อหน่ายแม้ในชิวหาวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกายวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่าย
แม้ในมโนวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด ฯลฯ รู้ชัดว่า” ...

วิญญาณสูตรที่ 3 จบ

4. สัมผัสสสูตร
ว่าด้วยสัมผัส

[191] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ราหุล เธอจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร จักขุสัมผัสเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ
“โสตสัมผัส ... ฆานสัมผัส ... ชิวหาสัมผัส ... กายสัมผัส ... มโนสัมผัส
เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ราหุล อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุสัมผัส
ฯลฯ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโสตสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในฆานสัมผัส ย่อมเบื่อหน่าย
แม้ในชิวหาสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกายสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโนสัมผัส
เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด ฯลฯ รู้ชัดว่า” ...

สัมผัสสสูตรที่ 4 จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [7. ราหุลสังยุต] 1. ปฐมวรรค 6. สัญญาสูตร

5. เวทนาสูตร
ว่าด้วยเวทนา

[192] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ราหุล เธอจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร จักขุสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาเกิด
แต่จักขุสัมผัส) เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ
“โสตสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาที่เกิดแต่โสตสัมผัส) ... ฆานสัมผัสสชาเวทนา
(เวทนาที่เกิดแต่ฆานสัมผัส) ... ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาที่เกิดแต่ชิวหาสัมผัส) ...
กายสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาที่เกิดแต่กายสัมผัส) ... มโนสัมผัสสชาเวทนา
(เวทนาที่เกิดแต่มโนสัมผัส) เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ราหุล อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุสัมผัสสชา-
เวทนา ฯลฯ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโสตสัมผัสสชาเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน
ฆานสัมผัสสชาเวทนา ... ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในชิวหาสัมผัสสชาเวทนา ... ย่อมเบื่อ
หน่ายแม้ในกายสัมผัสสชาเวทนา ... ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโนสัมผัสสชาเวทนา
ฯลฯ รู้ชัดว่า” ...

เวทนาสูตรที่ 5 จบ

6. สัญญาสูตร
ว่าด้วยสัญญา

[193] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ราหุล เธอจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปสัญญา (ความหมายรู้รูป) เที่ยง
หรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ
“สัททสัญญา (ความหมายรู้เสียง) ... คันธสัญญา (ความหมายรู้กลิ่น) ...
รสสัญญา (ความหมายรู้รส) ... โผฏฐัพพสัญญา (ความหมายรู้โผฏฐัพพะ) ...
ธัมมสัญญา (ความหมายรู้อารมณ์ทางใจ) เที่ยงหรือไม่เที่ยง”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 16 หน้า :293 }