เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [1. นิทานสังยุต]
2. อาหารวรรค 7. อเจลกัสสปสูตร

จักเห็นรูปได้’ ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาคพร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็น
สรณะ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์พึงได้บรรพชา พึงได้อุปสมบทในสำนักของ
พระผู้มีพระภาค”
“กัสสปะ ผู้เคยเป็นอัญเดียรถีย์ ประสงค์จะบรรพชาอุปสมบทในธรรมวินัยนี้
จะต้องอยู่ปริวาส1 4 เดือน หลังจาก 4 เดือนสิ้นสุดการอยู่ปริวาสแล้ว เมื่อภิกษุ
พอใจก็จะให้บรรพชาอุปสมบทเป็นภิกษุ อนึ่ง ในเรื่องนี้เราคำนึงถึงความแตกต่างระหว่าง
บุคคลด้วย”
เขากราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หากผู้เคยเป็นอัญเดียรถีย์ ประสงค์
จะบรรพชาอุปสมบทในธรรมวินัยนี้ จะต้องอยู่ปริวาส 4 เดือน หลังจาก 4 เดือน
สิ้นสุดการอยู่ปริวาสแล้ว เมื่อภิกษุพอใจก็จะให้บรรพชาอุปสมบทเป็นภิกษุ ข้าพระองค์
จักขออยู่ปริวาส 4 ปี หลังจาก 4 ปีสิ้นสุดการอยู่ปริวาสแล้ว เมื่อภิกษุพอใจก็จะ
ให้บรรพชาอุปสมบทเป็นภิกษุ”
อเจลกัสสปะได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักพระผู้มีพระภาคแล้ว เมื่อบวชแล้ว
ไม่นาน หลีกออกไปอยู่คนเดียว ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่
ไม่นานนัก ได้ทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยม2 อันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์3ที่
เหล่ากุลบุตรผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำ
เสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’ อนึ่ง ท่านกัสสปะได้เป็นพระ-
อรหันต์องค์หนึ่งในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย

อเจลกัสสปสูตรที่ 7 จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [1. นิทานสังยุต]
2. อาหารวรรค 8. ติมพรุกขสูตร

8. ติมพรุกขสูตร
ว่าด้วยปริพาชกชื่อติมพรุกขะ

[18] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ปริพาชกชื่อติมพรุกขะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้สนทนา
ปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถาม
พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ท่านพระโคดม สุขและทุกข์เป็นสิ่งที่ตนกระทำเองหรือ”
“อย่ากล่าวอย่างนั้น ติมพรุกขะ”
“ท่านพระโคดม สุขและทุกข์เป็นสิ่งที่คนอื่นกระทำให้หรือ”
“อย่ากล่าวอย่างนั้น ติมพรุกขะ”
“ท่านพระโคดม สุขและทุกข์เป็นสิ่งที่ตนกระทำเองด้วย และเป็นสิ่งที่คนอื่น
กระทำให้ด้วยหรือ”
“อย่ากล่าวอย่างนั้น ติมพรุกขะ”
“ท่านพระโคดม สุขและทุกข์เกิดขึ้นเพราะอาศัยเหตุที่ตนกระทำเองก็มิใช่ และ
คนอื่นกระทำให้ก็มิใช่หรือ”
“อย่ากล่าวอย่างนั้น ติมพรุกขะ”
“ท่านพระโคดม สุขและทุกข์ไม่มีหรือ”
“ติมพรุกขะ สุขและทุกข์ไม่มีก็มิใช่ สุขและทุกข์มีอยู่”
“ถ้าอย่างนั้น ท่านพระโคดม ย่อมไม่รู้เห็นสุขและทุกข์หรือ”
“ติมพรุกขะ เราไม่รู้เห็นสุขและทุกข์ก็มิใช่ เรานี่แหละที่รู้เห็นสุขและทุกข์โดยแท้”
“เมื่อข้าพเจ้าทูลถามว่า ‘ท่านพระโคดม สุขและทุกข์เป็นสิ่งที่ตนกระทำเองหรือ’
ท่านตรัสว่า ‘อย่ากล่าวอย่างนั้น ติมพรุกขะ’
เมื่อข้าพเจ้าทูลถามว่า ‘ท่านพระโคดม สุขและทุกข์เป็นสิ่งที่คนอื่นกระทำให้หรือ’
ท่านตรัสว่า ‘อย่ากล่าวอย่างนั้น ติมพรุกขะ’
เมื่อข้าพเจ้าทูลถามว่า ‘ท่านพระโคดม สุขและทุกข์เป็นสิ่งที่ตนกระทำเองด้วย
และเป็นสิ่งที่คนอื่นกระทำให้ด้วยหรือ’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 16 หน้า :30 }