เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [6. ลาภสักการสังยุต]
3. ตติยวรรค 10. ภิกขุสูตร

‘อานนท์ เราไม่กล่าวว่าลาภสักการะและความสรรเสริญ เป็นอันตรายแก่
เจโตวิมุตติอันไม่กำเริบของภิกษุขีณาสพนั้น แต่เรากล่าวว่าลาภสักการะและความ
สรรเสริญเป็นอันตรายแก่ธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันที่ภิกษุขีณาสพผู้ไม่ประมาท
มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่นั้น บรรลุแล้ว
อานนท์ ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย
เป็นอันตรายต่อการบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าอย่างนี้
เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า ‘เราทั้งหลายจักละลาภสักการะและ
ความสรรเสริญที่เกิดขึ้น ลาภสักการะและความสรรเสริญที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่
ครอบงำจิตของเราทั้งหลายตั้งอยู่’ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”

ภิกขุสูตรที่ 10 จบ
ตติยวรรค จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

1. มาตุคามสูตร 2. กัลยาณิสูตร
3. เอกปุตตกสูตร 4. เอกธีตุสูตร
5. สมณพราหมณสูตร 6. ทุติยสมณพราหมณสูตร
7. ตติยสมณพราหมณสูตร 8. ฉวิสูตร
9. รัชชุสูตร 10. ภิกขุสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [6. ลาภสักการสังยุต]
4. จตุตถวรรค 2. กุสลมูลสูตร

4. จตุตถวรรค
หมวดที่ 4

1. ภินทิสูตร
ว่าด้วยการทำลาย

[180] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มี
พระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ เทวทัต
ถูกลาภสักการะและความสรรเสริญครอบงำ ย่ำยีจิตแล้ว จึงทำลายสงฆ์
ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ อย่างนี้
เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”

ภินทิสูตรที่ 1 จบ

2. กุสลมูลสูตร
ว่าด้วยกุศลมูล

[181] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มี
พระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ
กุศลมูล1ของเทวทัตผู้ถูกลาภสักการะและความสรรเสริญครอบงำ ย่ำยีจิต ถึงความ
ขาดสูญแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ อย่างนี้
เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”

กุศลมูลสูตรที่ 2 จบ