เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [6. ลาภสักการสังยุต]
3. ตติยวรรค 10. ภิกขุสูตร

9. รัชชุสูตร
ว่าด้วยเชือก

[178] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ลาภสักการะ
และความสรรเสริญย่อมตัดผิว ครั้นตัดผิวแล้วย่อมตัดหนัง ครั้นตัดหนังแล้วย่อม
ตัดเนื้อ ครั้นตัดเนื้อแล้วย่อมตัดเอ็น ครั้นตัดเอ็นแล้วย่อมตัดกระดูก ครั้นตัดกระดูก
แล้วก็ตั้งจดเยื่อในกระดูกอยู่
เปรียบเหมือนบุรุษผู้ทรงพลัง เอาเชือกขนหางสัตว์อย่างเหนียวพันแข้ง แล้วสีไป
สีมา เชือกนั้นพึงตัดผิว ครั้นตัดผิวแล้วพึงตัดหนัง ครั้นตัดหนังแล้วพึงตัดเนื้อ
ครั้นตัดเนื้อแล้วพึงตัดเอ็น ครั้นตัดเอ็นแล้วพึงตัดกระดูก ครั้นตัดกระดูกแล้วก็ตั้ง
จดเยื่อในกระดูกอยู่ อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น ลาภสักการะและความสรรเสริญ
ย่อมตัดผิว ครั้นตัดผิวแล้วย่อมตัดหนัง ครั้นตัดหนังแล้วย่อมตัดเนื้อ ครั้นตัดเนื้อ
แล้วย่อมตัดเอ็น ครั้นตัดเอ็นแล้วย่อมตัดกระดูก ครั้นตัดกระดูกแล้วก็ตั้งจดเยื่อใน
กระดูกอยู่
ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ อย่างนี้
เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”

รัชชุสูตรที่ 9 จบ

10. ภิกขุสูตร
ว่าด้วยภิกษุ

[179] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่าลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นอันตราย
แม้แก่ภิกษุผู้เป็นอรหันตขีณาสพ
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ ท่านพระอานนท์ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นอันตราย
แก่ภิกษุขีณาสพประเภทไหน’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 16 หน้า :281 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [6. ลาภสักการสังยุต]
3. ตติยวรรค 10. ภิกขุสูตร

‘อานนท์ เราไม่กล่าวว่าลาภสักการะและความสรรเสริญ เป็นอันตรายแก่
เจโตวิมุตติอันไม่กำเริบของภิกษุขีณาสพนั้น แต่เรากล่าวว่าลาภสักการะและความ
สรรเสริญเป็นอันตรายแก่ธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันที่ภิกษุขีณาสพผู้ไม่ประมาท
มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่นั้น บรรลุแล้ว
อานนท์ ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย
เป็นอันตรายต่อการบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าอย่างนี้
เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า ‘เราทั้งหลายจักละลาภสักการะและ
ความสรรเสริญที่เกิดขึ้น ลาภสักการะและความสรรเสริญที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่
ครอบงำจิตของเราทั้งหลายตั้งอยู่’ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”

ภิกขุสูตรที่ 10 จบ
ตติยวรรค จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

1. มาตุคามสูตร 2. กัลยาณิสูตร
3. เอกปุตตกสูตร 4. เอกธีตุสูตร
5. สมณพราหมณสูตร 6. ทุติยสมณพราหมณสูตร
7. ตติยสมณพราหมณสูตร 8. ฉวิสูตร
9. รัชชุสูตร 10. ภิกขุสูตร