เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [6. ลาภสักการสังยุต]
3. ตติยวรรค 6. ทุติยสมณพราหมณสูตร

5. สมณพราหมณสูตร
ว่าด้วยสมณพราหมณ์

[174] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งไม่รู้ชัดคุณ โทษ และ
เครื่องสลัดออกจากลาภสักการะและความสรรเสริญตามความเป็นจริง สมณะหรือ
พราหมณ์เหล่านั้น ไม่จัดว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ หรือไม่จัดว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่
พราหมณ์ ทั้งท่านเหล่านั้นก็ไม่ทำให้แจ้งประโยชน์ของความเป็นสมณะและประโยชน์
ของความเป็นพราหมณ์ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดคุณ โทษ และเครื่องสลัดออก
จากลาภสักการะและความสรรเสริญตามความเป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น
จัดว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ และจัดว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ ทั้งท่านเหล่านั้น
ก็ทำให้แจ้งประโยชน์ของความเป็นสมณะ และประโยชน์ของความเป็นพราหมณ์ด้วย
ปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน”

สมณพราหมณสูตรที่ 5 จบ

6. ทุติยสมณพราหมณสูตร
ว่าด้วยสมณพราหมณ์ สูตรที่ 2

[175] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งไม่รู้ชัดความเกิด ความดับ
คุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจากลาภสักการะและความสรรเสริญตามความเป็นจริง
ฯลฯ (ท่านเหล่านั้น) รู้ชัด ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดความเกิด ความดับ
คุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจากลาภสักการะและความสรรเสริญตามความเป็นจริง
ฯลฯ เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน”

ทุติยสมณพราหมณสูตรที่ 6 จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [6. ลาภสักการสังยุต]
3. ตติยวรรค 8. ฉวิสูตร

7. ตติยสมณพราหมณสูตร
ว่าด้วยสมณพราหมณ์ สูตรที่ 3

[176] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งไม่รู้ชัดลาภสักการะ
และความสรรเสริญ ความเกิดแห่งลาภสักการะและความสรรเสริญ ความดับแห่ง
ลาภสักการะและความสรรเสริญ และปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งลาภสักการะและ
ความสรรเสริญ ฯลฯ รู้ชัด ฯลฯ ทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ใน
ปัจจุบัน”

ตติยสมณพราหมณสูตรที่ 7 จบ

8. ฉวิสูตร
ว่าด้วยผิว

[177] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ลาภสักการะ
และความสรรเสริญย่อมตัดผิว ครั้นตัดผิวแล้วย่อมตัดหนัง ครั้นตัดหนังแล้วย่อม
ตัดเนื้อ ครั้นตัดเนื้อแล้วย่อมตัดเอ็น ครั้นตัดเอ็นแล้วย่อมตัดกระดูก ครั้นตัดกระดูก
แล้วก็ตั้งจดเยื่อในกระดูกอยู่
ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ อย่างนี้
เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”

ฉวิสูตรที่ 8 จบ