เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [5. กัสสปสังยุต] 9. ณานาภิญญสูตร

แม้กัสสปะก็แสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้
ตราบเท่าที่เธอต้องการเช่นกัน
เราได้ยินเสียง 2 ชนิด คือ เสียงทิพย์ และเสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้
ด้วยหูทิพย์ ... ได้ตราบเท่าที่เราต้องการ แม้กัสสปะก็ได้ยินเสียง 2 ชนิด คือ
เสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้ ฯลฯ
เรากำหนดรู้จิตของสัตว์และคนอื่นด้วยจิตของตน คือจิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ
หรือจิตปราศจากราคะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ จิตมีโทสะ ฯลฯ จิตปราศจากโทสะ
... จิตมีโมหะ ... จิตปราศจากโมหะ ... จิตหดหู่ ... จิตฟุ้งซ่าน ... จิตเป็นมหัคคตะ
จิตไม่เป็นมหัคคตะ จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า ... หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ... จิตเป็น
สมาธิ ... จิตไม่เป็นสมาธิ ... จิตหลุดพ้น ... หรือจิตไม่หลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตไม่
หลุดพ้นได้ตราบเท่าที่เราต้องการ แม้กัสสปะก็กำหนดรู้จิตของสัตว์และคนอื่นด้วย
จิตของตน คือจิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ ฯลฯ หรือจิตไม่หลุดพ้น ก็รู้ว่าจิต
ไม่หลุดพ้นตราบเท่าที่เธอต้องการ
เราระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ 1 ชาติบ้าง 2 ชาติบ้าง 3 ชาติบ้าง
4 ชาติบ้าง 5 ชาติบ้าง 10 ชาติบ้าง 20 ชาติบ้าง 30 ชาติบ้าง 40 ชาติบ้าง
50 ชาติบ้าง 100 ชาติบ้าง 1,000 ชาติบ้าง 100,000 ชาติบ้าง ตลอด
สังวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏฏวิวัฏฏกัป
เป็นอันมากบ้างว่า ‘ในภพโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร
เสวยสุขทุกข์ และมีอายุอย่างนั้น ๆ เราจุติจากภพนั้นก็ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพ
นั้นเราก็มีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ และมีอายุ
อย่างนั้น ๆ ครั้นจุติจากภพนั้นจึงมาเกิดในภพนี้’ ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ
พร้อมทั้งลักษณะทั่วไป และชีวประวัติ ด้วยประการฉะนี้ได้ แม้กัสสปะก็ระลึกชาติ
ก่อนได้หลายชาติ คือ 1 ชาติบ้าง ฯลฯ ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ พร้อมทั้ง
ลักษณะทั่วไปและชีวประวัติ ด้วยประการฉะนี้ได้ ตราบเท่าที่เธอต้องการ
เราเห็นหมู่สัตว์ซึ่งกำลังจุติ กำลังอุบัติ เลว ประณีต ผิวพรรณดี ผิวพรรณ
ทราม ไปดี ตกยาก ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็น
ไปตามกรรมว่า ‘ผู้เจริญทั้งหลาย หมู่สัตว์ที่ประกอบกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต
กล่าวร้ายพระอริยะ และชักชวนผู้อื่นให้ทำตามความเห็นผิด พวกเขาหลังจาก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 16 หน้า :252 }