เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [5. กัสสปสังยุต] 4. กุลูปกสูตร

กัสสปะมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว
ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อม
เข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ไฉนหนอ ชนทั้งหลายพึงฟังธรรมของเรา
ครั้นฟังแล้ว พึงรู้ทั่วถึงธรรม และครั้นรู้ทั่วถึงแล้ว พึงปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น’
จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น เธออาศัยความที่ธรรมเป็นธรรมดีจึงแสดงธรรมแก่ชน
เหล่าอื่น อาศัยความกรุณาจึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น อาศัยความเอ็นดูจึงแสดง
ธรรมแก่ชนเหล่าอื่น อาศัยความอนุเคราะห์จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น ด้วยประการ
ฉะนี้
ภิกษุทั้งหลาย เราจักกล่าวสอนเธอทั้งหลายให้(ประพฤติ)ตามกัสสปะ หรือผู้
ใดพึงเป็นเช่นกัสสปะ เราจักกล่าวสอนให้ประพฤติตามผู้นั้น และเธอทั้งหลายผู้ได้รับ
โอวาทแล้ว พึงปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น”

จันทูปมาสูตรที่ 3 จบ

4. กุลูปกสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้เข้าไปสู่ตระกูล

[147] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ภิกษุเช่นไร
สมควรเข้าไปสู่ตระกูล ภิกษุเช่นไรไม่สมควรเข้าไปสู่ตระกูล”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาค
เป็นหลัก” ฯลฯ
“ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ขอชนทั้งหลายจงให้
เราเท่านั้น อย่าได้ไม่ให้เลย จงให้เรามาก ๆ อย่าให้น้อย จงให้ของประณีตแก่เราเท่านั้น
อย่าให้ของเศร้าหมอง จงรีบให้เรา อย่าให้ช้า จงให้เราโดยเคารพ อย่าให้โดยไม่
เคารพ’ จึงเข้าไปสู่ตระกูล เมื่อภิกษุนั้นมีความคิดอย่างนี้เข้าไปสู่ตระกูล ชนทั้งหลาย
ไม่ให้ ภิกษุจึงอึดอัดเพราะสาเหตุนั้น เธอเสวยทุกข์โทมนัสเพราะสาเหตุนั้น ชนทั้งหลาย
ให้น้อย ไม่ให้มาก ฯลฯ ให้ของเศร้าหมอง ไม่ให้ของประณีต ให้ช้า ไม่ให้เร็ว ภิกษุจึง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 16 หน้า :239 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [5. กัสสปสังยุต] 4. กุลูปกสูตร

อึดอัดเพราะสาเหตุนั้น เธอเสวยทุกข์โทมนัสเพราะสาเหตุนั้น ชนทั้งหลายให้โดยไม่
เคารพ ไม่ให้โดยเคารพ ภิกษุจึงอึดอัดเพราะสาเหตุนั้น เธอเสวยทุกข์โทมนัส
เพราะสาเหตุนั้น
ภิกษุเช่นนี้ไม่สมควรเข้าไปสู่ตระกูล
ส่วนภิกษุรูปใดรูปหนึ่งมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราพึงได้ปัจจัย 4 ในตระกูล
อื่น ๆ แต่ที่ไหน ขอชนทั้งหลายจงให้เราเท่านั้น อย่าได้ไม่ให้เลย จงให้เรามาก ๆ
อย่าให้น้อย จงให้ของประณีตแก่เราเท่านั้น อย่าให้ของเศร้าหมอง จงรีบให้เรา
อย่าให้ช้า จงให้เราโดยเคารพ อย่าให้โดยไม่เคารพ’ จึงเข้าไปสู่ตระกูล ถ้าเมื่อ
ภิกษุนั้นมีความคิดอย่างนี้เข้าไปสู่ตระกูล ชนทั้งหลายไม่ให้ ภิกษุไม่อึดอัดเพราะ
สาเหตุนั้น เธอไม่เสวยทุกข์โทมนัสเพราะสาเหตุนั้น ชนทั้งหลายให้น้อย ไม่ให้มาก
ภิกษุจึงไม่อึดอัดเพราะสาเหตุนั้น เธอไม่เสวยทุกข์โทมนัสเพราะสาเหตุนั้น ชนทั้งหลาย
ให้ของเศร้าหมอง ไม่ให้ของประณีต ... ให้ช้า ไม่ให้เร็ว ภิกษุไม่อึดอัดเพราะ
สาเหตุนั้น เธอไม่เสวยทุกข์โทมนัสเพราะสาเหตุนั้น ชนทั้งหลายให้โดยไม่เคารพ
ไม่ให้โดยเคารพ ภิกษุไม่อึดอัดเพราะสาเหตุนั้น เธอไม่เสวยทุกข์โทมนัสเพราะสาเหตุนั้น
ภิกษุเช่นนี้สมควรเข้าไปสู่ตระกูล
กัสสปะมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราพึงได้ปัจจัย 4 ในตระกูลอื่น ๆ แต่ที่ไหน
ขอชนทั้งหลายจงให้เราเท่านั้น อย่าได้ไม่ให้เลย จงให้เรามาก ๆ อย่าให้น้อย’ ฯลฯ
จึงเข้าไปสู่ตระกูล ชนทั้งหลายไม่ให้ กัสสปะไม่อึดอัดเพราะสาเหตุนั้น เธอไม่เสวย
ทุกข์โทมนัสเพราะสาเหตุนั้น ชนทั้งหลายให้น้อย ไม่ให้มาก กัสสปะไม่อึดอัดเพราะ
สาเหตุนั้น เธอไม่เสวยทุกข์โทมนัสเพราะสาเหตุนั้น ชนทั้งหลายให้ของเศร้าหมอง
ไม่ให้ของประณีต กัสสปะไม่อึดอัดเพราะสาเหตุนั้น เธอไม่เสวยทุกข์โทมนัส ชนทั้งหลาย
ให้ช้า ไม่ให้เร็ว กัสสปะไม่อึดอัดเพราะสาเหตุนั้น เธอไม่เสวยทุกข์โทมนัสเพราะ
สาเหตุนั้น ชนทั้งหลายให้โดยไม่เคารพ ไม่ให้โดยเคารพ กัสสปะไม่อึดอัดเพราะ
สาเหตุนั้น เธอไม่เสวยทุกข์โทมนัสเพราะสาเหตุนั้น
ภิกษุทั้งหลาย เราจักกล่าวสอนเธอทั้งหลายให้(ประพฤติ)ตามกัสสปะ หรือผู้
ใดพึงเป็นเช่นกัสสปะ เราจักกล่าวสอนให้ประพฤติตามผู้นั้น และเธอทั้งหลายผู้ได้รับ
โอวาทแล้วพึงปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น”

กุลูปกสูตรที่ 4 จบ