เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [5. กัสสปสังยุต] 2.อโนตตัปปีสูตร

ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มีความเพียรเครื่องเผากิเลส เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ทำความเพียรเครื่องเผากิเลส โดยคิดว่า ‘บาป
อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นแก่เรา เมื่อเกิดขึ้น พึงเป็นไปเพื่อความพินาศ’ ทำความ
เพียรเครื่องเผากิเลส โดยคิดว่า ‘บาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วแก่เรา เมื่อยังละไม่ได้
พึงเป็นไปเพื่อความพินาศ’ ทำความเพียรเครื่องเผากิเลสโดยคิดว่า ‘กุศลธรรมที่ยังไม่
เกิดขึ้นแก่เรา เมื่อไม่เกิดขึ้น พึงเป็นไปเพื่อความพินาศ’ ทำความเพียรเครื่องเผา
กิเลส โดยคิดว่า ‘กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแก่เรา เมื่อดับ พึงเป็นไปเพื่อความพินาศ’
ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มีความเพียรเครื่องเผากิเลส เป็นอย่างนี้
ภิกษุชื่อว่ามีความสะดุ้งกลัว เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมสะดุ้งกลัว โดยคิดว่า ‘บาปอกุศลธรรมที่ยัง
ไม่เกิดขึ้นแก่เรา เมื่อเกิดขึ้น พึงเป็นไปเพื่อความพินาศ’ ย่อมสะดุ้งกลัว โดยคิดว่า
‘บาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วแก่เรา เมื่อเรายังละไม่ได้ พึงเป็นไปเพื่อความพินาศ’
ย่อมสะดุ้งกลัว โดยคิดว่า ‘กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นแก่เรา เมื่อไม่เกิดขึ้น พึงเป็นไป
เพื่อความพินาศ’ ย่อมสะดุ้งกลัว โดยคิดว่า ‘กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแก่เรา เมื่อดับ
พึงเป็นไปเพื่อความพินาศ’
ภิกษุชื่อว่ามีความสะดุ้งกลัว เป็นอย่างนี้
ภิกษุเป็นผู้มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีความสะดุ้งกลัว เป็นผู้ควรเพื่อตรัสรู้
ควรเพื่อนิพพาน ควรเพื่อบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะ1 อย่างยอดเยี่ยมเป็นอย่างนี้
แล”

อโนตตัปปีสูตรที่ 2 จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [5. กัสสปสังยุต] 3. จันทูปมาสูตร

3. จันทูปมาสูตร
ว่าด้วยการเปรียบเทียบภิกษุกับดวงจันทร์

[146] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มี
พระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นเหมือนดวงจันทร์ จงพรากกาย1 พรากจิต
ออก เป็นผู้ใหม่เป็นนิจ2 ไม่คะนอง3 เข้าไปสู่ตระกูลทั้งหลายเถิด
เปรียบเหมือนบุรุษพึงพรากกายพรากจิต แลดูบ่อน้ำซึ่งคร่ำคร่า ภูเขาที่ขรุขระ
หรือแม่น้ำที่ขาดเป็นห้วง ๆ อุปมานี้ฉันใด อุปไมยนั้นก็ฉันนั้น เธอทั้งหลายก็จงเป็น
เหมือนดวงจันทร์จงพรากกายพรากจิตออก เป็นผู้ใหม่เป็นนิจ ไม่คะนอง เข้าไปสู่
ตระกูลทั้งหลาย
กัสสปะเปรียบเหมือนดวงจันทร์ พรากกายพรากจิตออก เป็นผู้ใหม่เป็นนิจ
ไม่คะนองเข้าไปสู่ตระกูลทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ภิกษุ
เช่นไรจึงสมควรเข้าไปสู่ตระกูล
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก
มีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำ มีพระผู้มีพระภาคเป็นที่พึ่ง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ขอประทานวโรกาส เฉพาะพระผู้มีพระภาคเท่านั้นที่จะทรงอธิบายเนื้อความแห่ง
ภาษิตนั้นให้แจ่มแจ้งได้ ภิกษุทั้งหลายฟังต่อจากพระผู้มีพระภาคแล้วจักทรงจำไว้”
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงโบกฝ่าพระหัตถ์ในอากาศ ตรัสว่า ‘ภิกษุ
ทั้งหลาย ฝ่ามือนี้ไม่ข้อง ไม่ยึด ไม่ติดในอากาศ ฉันใด จิตของภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง
ผู้เข้าไปสู่ตระกูล ไม่ข้อง ไม่ยึด ไม่ติดในตระกูลทั้งหลาย โดยคิดว่า ‘ผู้ปรารถนาลาภ