เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [4. อนมตัคคสังยุต]
2. ทุติยวรรค 2. สุขิตสูตร

2. ทุติยวรรค
หมวดที่ 2

1. ทุคคตสูตร
ว่าด้วยผู้มีความทุกข์

[134] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น
พระผู้มีพระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้มีเบื้องต้นและเบื้องปลายรู้ไม่ได้ ที่สุดเบื้องต้น
ที่สุดเบื้องปลายไม่ปรากฏแก่เหล่าสัตว์ผู้ถูกอวิชชากีดขวาง ถูกตัณหาผูกไว้ วนเวียน
ท่องเที่ยวไป เธอทั้งหลายเห็นบุคคลผู้มีความทุกข์มีมือและเท้าไม่สมประกอบ พึง
สันนิษฐานบุคคลนี้ว่า ‘แม้เราทั้งหลายก็เคยเสวยความทุกข์เช่นนี้มาแล้ว โดยกาลนาน’
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะว่าสงสารนี้มีเบื้องต้นและเบื้องปลายรู้ไม่ได้ ฯลฯ ควรเพื่อหลุดพ้น” ...

ทุคคตสูตรที่ 1 จบ

2. สุขิตสูตร
ว่าด้วยผู้มีความสุข

[135] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มี
พระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้มีเบื้องต้นและเบื้องปลายรู้ไม่ได้ ... เธอทั้งหลายเห็น
บุคคลผู้เพียบพร้อมด้วยความสุข มีบริวารคอยรับใช้ พึงสันนิษฐานบุคคลนี้ว่า
‘แม้เราทั้งหลายก็เคยเสวยความสุขเช่นนี้มาแล้ว โดยกาลนาน’
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะว่าสงสารนี้มีเบื้องต้นและเบื้องปลายรู้ไม่ได้ ฯลฯ ควรเพื่อหลุดพ้น” ...

สุขิตสูตรที่ 2 จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [4. อนมตัคคสังยุต]
2. ทุติยวรรค 3. ติงสมัตตสูตร

3. ติงสมัตตสูตร
ว่าด้วยภิกษุ 30 รูป

[136] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน ... เขตกรุงราชคฤห์
ครั้งนั้น ภิกษุชาวเมืองปาวาประมาณ 30 รูป ทั้งหมดล้วนเป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร
เป็นผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร เป็นผู้นุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร เป็นผู้ทรงผ้าไตรจีวร
เป็นวัตร (แต่)ยังมีสังโยชน์1 เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้วนั่ง ณ ที่สมควร
ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคทรงดำริว่า ‘ภิกษุชาวเมืองปาวาประมาณ 30 รูปนี้
ทั้งหมดล้วนเป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร เป็นผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร เป็นผู้นุ่งห่มผ้า
บังสุกุลเป็นวัตร เป็นผู้ทรงผ้าไตรจีวรเป็นวัตร (แต่)ยังมีสังโยชน์ ทางที่ดี เราพึง
แสดงธรรมให้ภิกษุเหล่านี้มีจิตหลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น ขณะที่นั่งบนอาสนะ
นี้แหละ’ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“สงสารนี้มีเบื้องต้นและเบื้องปลายรู้ไม่ได้ ที่สุดเบื้องต้น ที่สุดเบื้องปลาย
ไม่ปรากฏแก่เหล่าสัตว์ผู้ถูกอวิชชากีดขวาง ถูกตัณหาผูกไว้ วนเวียนท่องเที่ยวไป
เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร โลหิตที่หลั่งไหลของเธอทั้งหลายผู้ถูกตัด
ศีรษะวนเวียนท่องเที่ยวไปโดยกาลนานนี้ กับน้ำในมหาสมุทรทั้ง 4 อย่างไหนจะ
มากกว่ากัน”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลายรู้ธรรมตามที่พระองค์ทรงแสดงแล้ว
โลหิตที่หลั่งไหลของข้าพระองค์ทั้งหลายผู้ถูกตัดศีรษะวนเวียนท่องเที่ยวไปโดยกาลนานนี้
นี้แหละมากกว่า ส่วนน้ำในมหาสมุทรทั้ง 4 ไม่มากกว่าเลย”
“ถูกละ ถูกละ เธอทั้งหลายรู้ธรรมตามที่เราแสดงอย่างนี้ ถูกต้องแล้ว โลหิต
ที่หลั่งไหลของเธอทั้งหลายผู้ถูกตัดศีรษะวนเวียนท่องเที่ยวไปโดยกาลนานนี้ นี้แหละ
มากกว่า ส่วนน้ำในมหาสมุทรทั้ง 4 ไม่มากกว่าเลย เมื่อเธอทั้งหลายเกิดเป็นโค