เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [3. ธาตุสังยุต]
4. จตุตถวรรค 5. เอกันตทุกขสูตร

เมื่อใดสัตว์เหล่านี้รู้คุณโดยความเป็นคุณ โทษโดยความเป็นโทษ และเครื่อง
สลัดออกโดยความเป็นเครื่องสลัดออกจากธาตุ 4 ประการนี้ ตามความเป็นจริง
เมื่อนั้นสัตว์เหล่านี้ย่อมสลัดตนออกได้ พรากตนออกได้ หลุดพ้นไปจากโลกพร้อมทั้ง
เทวโลก มารโลก พรหมโลก จากหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์
มีใจเป็นอิสระอยู่ได้”

โนเจทังสูตรที่ 4 จบ

5. เอกันตทุกขสูตร
ว่าด้วยธาตุ 4 มีทุกข์โดยส่วนเดียว

[118] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค...
“ภิกษุทั้งหลาย ถ้าปฐวีธาตุนี้จักได้มีทุกข์โดยส่วนเดียว ถูกทุกข์ติดตาม มีทุกข์
หยั่งลง สุขไม่หยั่งลง สัตว์ทั้งหลายไม่พึงยินดีในปฐวีธาตุ แต่เพราะปฐวีธาตุมีสุข
ติดตาม มีสุขหยั่งลง มีทุกข์ไม่หยั่งลง ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงยินดีในปฐวีธาตุ
ถ้าอาโปธาตุนี้ ...
ถ้าเตโชธาตุนี้ ...
ถ้าวาโยธาตุนี้จักได้มีทุกข์โดยส่วนเดียว ถูกทุกข์ติดตาม มีทุกข์หยั่งลง มีสุข
ไม่หยั่งลง สัตว์ทั้งหลายไม่พึงยินดีในวาโยธาตุ แต่เพราะวาโยธาตุมีสุขติดตาม มีสุข
หยั่งลง มีทุกข์ไม่หยั่งลง ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงยินดีในวาโยธาตุ
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าปฐวีธาตุนี้จักได้มีสุขโดยส่วนเดียว มีสุขติดตาม มีสุขหยั่งลง
มีทุกข์ไม่หยั่งลง สัตว์ทั้งหลายไม่พึงเบื่อหน่ายในปฐวีธาตุ แต่เพราะปฐวีธาตุถูกทุกข์
ติดตาม มีทุกข์หยั่งลง มีสุขไม่หยั่งลง ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงเบื่อหน่ายในปฐวีธาตุ
ถ้าอาโปธาตุนี้ ...
ถ้าเตโชธาตุนี้ ...
ถ้าวาโยธาตุนี้จักได้มีสุขโดยส่วนเดียว มีสุขติดตาม มีสุขหยั่งลง มีทุกข์ไม่
หยั่งลง สัตว์ทั้งหลายไม่พึงเบื่อหน่ายในวาโยธาตุ แต่เพราะวาโยธาตุถูกทุกข์ติดตาม
มีทุกข์หยั่งลง มีสุขไม่หยั่งลง ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงเบื่อหน่ายในวาโยธาตุ”

เอกันตทุกขสูตรที่ 5 จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [3. ธาตุสังยุต]
4. จตุตถวรรค 7. อุปปาทสูตร

6. อภินันทสูตร
ว่าด้วยความชื่นชมธาตุ 4

[119] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค...
“ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดชื่นชมปฐวีธาตุ ผู้นั้นชื่อว่าชื่นชมทุกข์ ผู้ใดชื่นชมทุกข์
เรากล่าวว่า ผู้นั้นไม่หลุดพ้นจากทุกข์
ผู้ใดชื่นชมอาโปธาตุ ...
ผู้ใดชื่นชมเตโชธาตุ ...
ผู้ใดชื่นชมวาโยธาตุ ผู้นั้นชื่อว่าชื่นชมทุกข์ ผู้ใดชื่นชมทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้น
ไม่หลุดพ้นจากทุกข์
ภิกษุทั้งหลาย แต่ผู้ใดไม่ชื่นชมปฐวีธาตุ ผู้นั้นชื่อว่าไม่ชื่นชมทุกข์ ผู้ใดไม่
ชื่นชมทุกข์ เรากล่าวว่า ‘ผู้นั้นหลุดพ้นจากทุกข์’
ผู้ใดไม่ชื่นชมอาโปธาตุ ...
ผู้ใดไม่ชื่นชมเตโชธาตุ ...
ผู้ใดไม่ชื่นชมวาโยธาตุ ผู้นั้นชื่อว่าไม่ชื่นชมทุกข์ ผู้ใดไม่ชื่นชมทุกข์ เรากล่าวว่า
‘ผู้นั้นหลุดพ้นจากทุกข์”

อภินันทสูตรที่ 6 จบ

7. อุปปาทสูตร
ว่าด้วยความเกิดขึ้นแห่งธาตุ 4 เป็นทุกข์

[120] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค...
“ภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่ง
ปฐวีธาตุ นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นที่ตั้งแห่งโรค เป็นความปรากฏแห่งชรา
และมรณะ
ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่งอาโปธาตุ ... แห่ง
เตโชธาตุ ... แห่งวาโยธาตุ นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นที่ตั้งแห่งโรค เป็นความ
ปรากฏแห่งชราและมรณะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 16 หน้า :211 }