เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [1. นิทานสังยุต]
2. อาหารวรรค 2.โมลิยผัคคุนสูตร

อนึ่ง สังขารเหล่านี้มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด
มีอะไรเป็นแดนเกิด
สังขารทั้งหลายมีอวิชชาเป็นเหตุ มีอวิชชาเป็นเหตุเกิด มีอวิชชาเป็นกำเนิด มี
อวิชชาเป็นแดนเกิด
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารทั้งหลายจึงมี เพราะสังขารเป็น
ปัจจัย วิญญาณจึงมี ฯลฯ ดังพรรณนามาฉะนี้ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้
มีได้ด้วยประการฉะนี้
อนึ่ง เพราะอวิชชานั้นดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ
วิญญาณจึงดับ ฯลฯ ดังพรรณนามาฉะนี้ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วย
ประการฉะนี้”

อาหารสูตรที่ 1 จบ

2. โมลิยผัคคุนสูตร
ว่าด้วยพระโมลิยผัคคุนะ

[12] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย อาหาร 4 อย่างนี้ เป็นไปเพื่อการดำรงอยู่ของหมู่สัตว์ผู้เกิดแล้ว
หรือเพื่ออนุเคราะห์หมู่สัตว์ผู้แสวงหาที่เกิด1
อาหาร 4 อย่าง อะไรบ้าง คือ
1. กวฬิงการาหารที่หยาบหรือละเอียด
2. ผัสสาหาร
3. มโนสัญเจตนาหาร
4. วิญญาณาหาร
อาหาร 4 อย่างนี้ เป็นไปเพื่อการดำรงอยู่ของหมู่สัตว์ผู้เกิดแล้ว หรือเพื่อ
อนุเคราะห์หมู่สัตว์ผู้แสวงหาที่เกิด


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [1. นิทานสังยุต]
2. อาหารวรรค 2.โมลิยผัคคุนสูตร

เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระโมลิยผัคคุนะได้ทูลถามพระผู้มี
พระภาคดังนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ใครหนอ ย่อมกลืนกินวิญญาณาหาร’
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสตอบว่า ‘ปัญหานี้ไม่สมควรถาม เรามิได้กล่าวว่า
‘ย่อมกลืนกิน’ ถ้าเราพึงกล่าวว่า ‘ย่อมกลืนกิน’ ในคำกล่าวนั้น ปัญหาที่สมควร
ถามก็คือ ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ใครหนอย่อมกลืนกิน’ เมื่อเรามิได้กล่าวอย่างนั้น
ผู้ที่ถามอย่างนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วิญญาณาหารมีเพื่ออะไร’ ปัญหาของ
ผู้นั้นจึงเป็นปัญหาที่สมควรถาม ในปัญหานั้น คำตอบที่สมควรคือ ‘วิญญาณาหาร
เป็นปัจจัยเพื่อเกิดในภพใหม่ต่อไป เมื่อวิญญาณาหารนั้น เกิดแล้ว สฬายตนะจึงมี
เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ใครเล่าย่อมถูกต้อง”
“ปัญหานี้ไม่สมควรถาม เรามิได้กล่าวว่า ‘ย่อมถูกต้อง’ ถ้าเราพึงกล่าวว่า
‘ย่อมถูกต้อง” ในคำกล่าวนั้น ปัญหาที่สมควรถามก็คือ ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ใครเล่าย่อมถูกต้อง’ เมื่อเรามิได้กล่าวอย่างนั้น ผู้ที่ถามอย่างนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ เพราะอะไรเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี’ ปัญหาของผู้นั้นจึงเป็นปัญหาที่สมควร
ถาม ในปัญหานั้น คำตอบที่สมควรคือ ‘เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ใครเล่าย่อมเสวยอารมณ์”
“ปัญหานี้ไม่สมควรถาม’ เรามิได้กล่าวว่า ‘ย่อมเสวยอารมณ์’ ถ้าเราพึง
กล่าวว่า ‘ย่อมเสวยอารมณ์’ ในคำกล่าวนั้น ปัญหาที่สมควรถามก็คือ ‘ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ใครหนอย่อมเสวยอารมณ์’ เมื่อเรามิได้กล่าวอย่างนั้น ผู้ที่ถามอย่างนี้ว่า
‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะอะไรเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี’ ปัญหาของผู้นั้นจึงเป็นปัญหา
ที่สมควรถาม ในปัญหานั้น คำตอบที่สมควรคือ ‘เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ใครเล่าย่อมทะยานอยาก”
“ปัญหานี้ไม่สมควรถาม เรามิได้กล่าวว่า ‘ย่อมทะยานอยาก’ ถ้าเราพึง
กล่าวว่า ‘ย่อมทะยานอยาก’ ในคำกล่าวนั้น ปัญหาที่สมควรถามก็คือ ‘ข้าแต่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 16 หน้า :20 }