เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [1. นิทานสังยุต]
7. มหาวรรค 10. สุสิมปริพพาชกสูตร

“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“เธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมถูกต้องอารุปปวิโมกข์1อันสงบก้าวล่วงรูปทั้งหลาย
เสียได้ ด้วยนามกายอยู่บ้างหรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“สุสิมะ บัดนี้ คำตอบนี้ และการไม่เข้าถึงธรรมเหล่านี้ มีอยู่ในเรื่องนี้ เรื่องนี้
เป็นอย่างไรกันแน่”
ลำดับนั้น ท่านพระสุสิมะได้หมอบลงแทบพระบาทของพระผู้มีพระภาค
ด้วยเศียรเกล้า กราบทูลว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โทษได้ตกถึงข้าพระองค์
เพราะความโง่เขลาเบาปัญญา ข้าพระองค์บวชขโมยธรรมในธรรมวินัยที่พระองค์
ตรัสไว้ดีแล้วอย่างนี้ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดทรงรับโทษของข้าพระองค์โดยความ
เป็นโทษ เพื่อความสำรวมต่อไปเถิด พระพุทธเจ้าข้า’
“สุสิมะ โทษได้ตกถึงเธอ เพราะความโง่เขลาเบาปัญญา เธอบวชขโมยธรรม
ในธรรมวินัยที่เรากล่าวไว้ดีแล้วอย่างนี้ เปรียบเหมือนราชบุรุษทั้งหลายจับโจรผู้
ประพฤติชั่วได้แล้ว จึงทูลแสดงแด่พระราชาว่า ‘ขอเดชะ ผู้นี้ประพฤติชั่วต่อ
พระองค์ ขอจงทรงลงพระอาญาตามที่ทรงพระประสงค์แก่โจรผู้นี้เถิด’ พระราชา
รับสั่งราชบุรุษผู้นั้นว่า ‘ท่านทั้งหลายจงไปเอาเชือกที่เหนียวมัดบุรุษนี้ไพล่หลังให้แน่น
แล้วเอามีดโกนโกนศีรษะ แห่ประจานไปตามถนน ตามทางสี่แยก ด้วยลั่นฆ้อง
กลองนำออกไปทางประตูด้านทิศทักษิณ(ทิศใต้) แล้วจงตัดศีรษะทางด้านทิศทักษิณ
ของตัวเมือง ราชบุรุษทั้งหลายก็เอาเชือกที่เหนียวมัดโจรผู้นั้นไพล่หลังให้แน่น
แล้วเอามีดโกนโกนศีรษะ แห่ประจานไปตามถนน ตามทางสี่แยก ด้วยลั่นฆ้องกลอง
นำออกไปทางประตูด้านทิศทักษิณ แล้วตัดศีรษะทางด้านทิศทักษิณของตัวเมือง ฉะนั้น’


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [1. นิทานสังยุต]
7. มหาวรรค 10. สุสิมปริพพาชกสูตร

เธอจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร บุรุษนั้นพึงเสวยทุกข์และโทมนัส เพราะ
การกระทำความผิดนั้นบ้างหรือ”
“อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“สุสิมะ บุรุษนั้นต้องเสวยทุกข์และโทมนัส เพราะการกระทำความผิดนั้น
นับแต่การบวชของเธอผู้ขโมยธรรมในธรรมวินัยที่ตถาคตกล่าวไว้ดีแล้วอย่างนี้ ยังมี
ผลเป็นทุกข์และเผ็ดร้อนกว่าการเสวยทุกข์และโทมนัสนั้น ทั้งยังเป็นไปเพื่อวินิบาต
(ปราศจากความสุข) แต่เพราะเธอเห็นโทษโดยความเป็นโทษ แล้วแสดงคืนตาม
วิธีที่ถูกต้อง เรารับโทษนั้นของเธอ ผู้ใดเห็นโทษโดยความเป็นโทษแล้วแสดงคืน
ตามวิธีที่ถูกต้อง ผู้นั้นจะได้สำรวมต่อไป ข้อนี้เป็นความเจริญในวินัยของพระอริยะ”

สุสิมปริพพาชกสูตรที่ 10 จบ
มหาวรรคที่ 7 จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

1. อัสสุตวาสูตร 2. ทุติยอัสสุตวาสูตร
3. ปุตตมังสสูตร 4. อัตถิราคสูตร
5. นครสูตร 6. สัมมสสูตร
7. นฬกลาปิสูตร 8. โกสัมพิสูตร
9. อุปยันติสูตร 10. สุสิมปริพพาชกสูตร