เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [1. นิทานสังยุต]
7. มหาวรรค 10. สุสิมปริพพาชกสูตร

“เธอเห็นว่า เพราะชาติเป็นปัจจัย ชราและมรณะจึงมีหรือ”
“อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“เธอเห็นว่า เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมีหรือ”
“อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“เธอเห็นว่า เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมีหรือ”
“อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“เธอเห็นว่า เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมีหรือ”
“อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“สุสิมะ เธอเห็นว่า เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมีหรือ ... เพราะผัสสะเป็น
ปัจจัย เวทนาจึงมี ... เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี... เพราะสังขารเป็น
ปัจจัย วิญญาณจึงมี...เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี...เพราะวิญญาณเป็น
ปัจจัย นามรูปจึงมี” .... เธอเห็นว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมีหรือ”
“อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“เธอเห็นว่า เพราะชาติดับ ชราและมรณะจึงดับหรือ”
“อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“เธอเห็นว่า เพราะภพดับ ชาติจึงดับหรือ”
“อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“สุสิมะ เธอเห็นว่า เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ ... เพราะตัณหาดับ
อุปาทานจึงดับ ... เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ ... เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ ...
เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ ... เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ ... เพราะ
วิญญาณดับ นามรูปจึงดับ ... เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ ... เพราะอวิชชาดับ
สังขารจึงดับหรือ”
“อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 16 หน้า :151 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [1. นิทานสังยุต]
7. มหาวรรค 10. สุสิมปริพพาชกสูตร

“สุสิมะ เธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือคนเดียวแสดง
เป็นหลายคนก็ได้ หลายคนแสดงเป็นคนเดียวก็ได้ แสดงให้ปรากฏก็ได้หรือให้หายไป
ก็ได้ ทะลุฝา ทะลุกำแพง (และ)ภูเขาไปได้ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นหรือ
ดำลงในแผ่นดินเหมือนไปในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำโดยที่น้ำไม่แยกเหมือนเดินบนแผ่นดิน
ก็ได้ นั่งขัดสมาธิเหาะไปในอากาศเหมือนนกบินไปก็ได้ ใช้ฝ่ามือลูบคลำดวงจันทร์
ดวงอาทิตย์ อันมีฤทธิ์มากมีอานุภาพมากก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลก
ก็ได้บ้างหรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“เธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมได้ยินเสียง 2 ชนิด คือ เสียงทิพย์ และเสียงมนุษย์
ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้ ด้วยหูทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์บ้างหรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“เธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมกำหนดรู้จิตของสัตว์และคนอื่นด้วยจิตของตน คือ
จิตมีราคะ ก็รู้ชัดว่าจิตมีราคะ ฯลฯ จิตไม่หลุดพ้น ก็รู้ชัดว่าจิตไม่หลุดพ้นบ้างหรือ”1
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“เธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ 1 ชาติบ้าง ฯลฯ
ย่อมระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ พร้อมทั้งลักษณะทั่วไป และชีวประวัติอย่างนี้บ้าง
หรือ”2
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“เธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ ฯลฯ ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์
เหนือมนุษย์ รู้ชัดหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมอย่างนี้ บ้างหรือ”3