เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [1. นิทานสังยุต]
7. มหาวรรค 10. สุสิมปริพพาชกสูตร

“ท่านจะเข้าใจหรือไม่ก็ตาม แต่พวกผมก็หลุดพ้นได้ด้วยปัญญา”
ครั้งนั้น ท่านสุสิมะลุกขึ้นจากอาสนะแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลคำที่ตนสนทนากับภิกษุเหล่านั้นทั้งหมด
แด่พระผู้มีพระภาคแล้ว
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า “สุสิมะ ธัมมฐิติญาณ1เกิดก่อน นิพพานญาณ2
เกิดภายหลัง”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่เข้าใจเนื้อความแห่งพระดำรัสที่พระองค์
ตรัสโดยย่อนี้โดยพิสดารได้ ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดตรัสโดย
ประการที่ข้าพระองค์จะพึงเข้าใจเนื้อความแห่งพระดำรัส ที่พระองค์ตรัสโดยย่อนี้ได้
โดยพิสดารด้วยเถิด”
“สุสิมะ เธอจะเข้าใจหรือไม่ก็ตาม ความจริงธัมมฐิติญาณเกิดก่อน นิพพาน-
ญาณเกิดภายหลัง เธอจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะพิจารณา
เห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [1. นิทานสังยุต]
7. มหาวรรค 10. สุสิมปริพพาชกสูตร

“เวทนาเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะพิจารณาเห็น
สิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“สัญญาเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ
“สังขารเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะพิจารณาเห็น
สิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 16 หน้า :149 }