เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [1. นิทานสังยุต]
7. มหาวรรค 7. นฬกลาปิสูตร

สฬายตนะจึงดับ เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์
ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้”
“ท่านสารีบุตร สุภาษิตตามที่ท่านกล่าวมานี้ เป็นสิ่งน่าอัศจรรย์จริง ไม่เคย
ปรากฏ ผมชื่นชมคำสุภาษิตของท่านสารีบุตรจำนวน 36 เรื่องนี้”1
“ท่านผู้มีอายุ ถ้าภิกษุแสดงธรรมเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด
เพื่อดับชราและมรณะ ควรเรียกว่า ‘ภิกษุธรรมกถึก’ ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติ เพื่อ
ความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับชราและมรณะ ควรเรียกว่า ‘ภิกษุผู้
ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม’ ถ้าภิกษุเป็นผู้หลุดพ้น เพราะความเบื่อหน่าย คลาย
กำหนัด ดับ เพราะไม่ถือมั่นชราและมรณะ ควรเรียกว่า ‘ภิกษุผู้บรรลุนิพพานใน
ปัจจุบัน’
ถ้าภิกษุแสดงธรรมเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับชาติ ฯลฯ
ภพ ... อุปาทาน ... ตัณหา ... เวทนา ... ผัสสะ ... สฬายตนะ ... นามรูป ... วิญญาณ
... สังขารทั้งหลาย ...
ถ้าภิกษุแสดงธรรมเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับอวิชชา
ควรเรียกว่า ‘ภิกษุธรรมกถึก’ ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลาย
กำหนัด เพื่อดับอวิชชา ควรเรียกว่า ‘ภิกษุผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม’ ถ้าภิกษุ
เป็นผู้หลุดพ้น เพราะความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด ดับ เพราะไม่ถือมั่นอวิชชา
ควรเรียกว่า ‘ภิกษุผู้บรรลุนิพพานในปัจจุบัน”

นฬกลาปิสูตรที่ 7 จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [1. นิทานสังยุต]
7. มหาวรรค 8. โกสัมพิสูตร

8. โกสัมพิสูตร
ว่าด้วยการสนทนาธรรม ณ กรุงโกสัมพี

[68] สมัยหนึ่ง ท่านพระมุสิละ ท่านพระปวิฏฐะ ท่านพระนารทะ และท่านพระ
อานนท์พักอยู่ ณ โฆสิตาราม เขตกรุงโกสัมพี ครั้งนั้น ท่านพระปวิฏฐะได้ถาม
ท่านพระมุสิละว่า
“ท่านมุสิละ เว้นจากความเชื่อ เว้นจากความชอบใจ เว้นจากการฟังตามกันมา
เว้นจากการคิดตรองตามแนวเหตุผล เว้นจากการเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว
ท่านมุสิละมีความรู้เฉพาะตนว่า ‘เพราะชาติเป็นปัจจัย ชราและมรณะจึงมีหรือ’
ท่านพระมุสิละได้ตอบว่า ‘ท่านปวิฏฐะ เว้นจากความเชื่อ เว้นจากความชอบใจ
เว้นจากการฟังตามกันมา เว้นจากการคิดตรองตามแนวเหตุผล เว้นจากการเข้าได้
กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว ผมรู้เห็นว่า ‘เพราะชาติเป็นปัจจัย ชราและมรณะจึงมี”
“ท่านมุสิละ เว้นจากความเชื่อ เว้นจากความชอบใจ เว้นจากการฟังตาม
กันมา เว้นจากการคิดตรองตามแนวเหตุผล เว้นจากการเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจ
ไว้แล้ว ท่านมุสิละมีความรู้เฉพาะตนว่า ‘เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมีหรือ’ ฯลฯ
‘เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี’ ... ‘เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี’ ...
‘เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี’ ... ‘เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี’ ...
‘เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี’ ... ‘เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี’
... ‘เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี’ ... ‘เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี’
... ‘เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมีหรือ’
“ท่านปวิฏฐะ เว้นจากความเชื่อ เว้นจากความชอบใจ เว้นจากการฟังตาม
กันมา เว้นจากการคิดตรองตามแนวเหตุผล เว้นจากการเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจ
ไว้แล้ว ผมรู้เห็นว่า ‘เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี”
“ท่านมุสิละ เว้นจากความเชื่อ เว้นจากความชอบใจ เว้นจากการฟังตาม
กันมา เว้นจากการคิดตรองตามแนวเหตุผล เว้นจากการเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจ
ไว้แล้ว ท่านมุสิละมีความรู้เฉพาะตนว่า ‘เพราะชาติดับ ชรา และมรณะจึงดับหรือ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 16 หน้า :138 }