เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [1. นิทานสังยุต] 7. มหาวรรค 6. สัมมสสูตร

ไปจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสได้แล้ว เรากล่าวว่า
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นพ้นจากทุกข์ได้แล้ว
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอนาคต จักเห็นรูปที่เป็นปิยรูป เป็น
สาตรูปในโลก โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เป็นโรค เป็นภัย
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าจักละตัณหาได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด
จักละตัณหาได้ ฯลฯ เรากล่าวว่า สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นจักพ้นจากทุกข์ไปได้
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในปัจจุบัน เห็นรูปที่เป็นปิยรูป เป็น
สาตรูปในโลก โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เป็นโรค เป็นภัย
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าละตัณหาได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดชื่อว่า
ละตัณหาได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าละอุปธิได้ สมณะหรือพราหมณ์
เหล่าใดละอุปธิได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าละทุกข์ได้ สมณะหรือพราหมณ์
เหล่าใดชื่อว่าละทุกข์ได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าพ้นไปจากชาติ ชรา
มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสได้ เรากล่าวว่า สมณะหรือ
พราหมณ์เหล่านั้นพ้นจากทุกข์ไปได้
เปรียบเหมือนขันสำริดใส่สุราสมบูรณ์ด้วยสี กลิ่น และรส แต่ขันใบนั้นเจือ
ยาพิษ ขณะนั้นมีบุรุษเดินฝ่าความร้อนอบอ้าวเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้ากระหายน้ำมา
คนทั้งหลายจึงพูดกับเขาว่า ‘พ่อหนุ่ม ขันสำริดใส่สุราใบนี้ สมบูรณ์ด้วยสี กลิ่น
และรสมีไว้สำหรับท่าน แต่ว่ามันเจือยาพิษ ถ้าท่านต้องการก็จงดื่มเถิด เพราะเมื่อ
ดื่มสุรานั้นก็จักซึมซาบด้วยสีบ้าง กลิ่นบ้าง รสบ้าง ก็แหละครั้นดื่มแล้ว ท่านจะตาย
หรือถึงทุกข์ปางตาย เพราะการดื่มนั้น’ ลำดับนั้น บุรุษนั้นพึงคิดว่า ‘ความกระหาย
สุรานี้ เราอาจจะบรรเทาได้ด้วยน้ำดื่ม ฟองน้ำส้ม น้ำข้าวผสมเกลือหรือน้ำยาดอง
แต่เราจะไม่ดื่มสุราที่ให้ประโยชน์สุขแก่เรามาช้านานนั้นเลย’ เขาพิจารณาขันสำริด
นั้นแล้ว ก็ไม่ดื่ม เททิ้งไป เขาจึงไม่ตายหรือถึงทุกข์ปางตาย เพราะการดื่มนั้น
ภิกษุทั้งหลาย อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด
เหล่าหนึ่งในอดีต ได้เห็นรูปที่เป็นปิยรูป เป็นสาตรูปในโลก โดยความเป็นของ
ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เป็นโรค เป็นภัย สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น
ชื่อว่าละตัณหาได้แล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดละตัณหาได้แล้ว สมณะหรือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 16 หน้า :133 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [1. นิทานสังยุต]
7. มหาวรรค 7. นฬกลาปิสูตร

พราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าละอุปธิได้แล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดละอุปธิได้แล้ว
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าละทุกข์ได้แล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดละ
ทุกข์ได้แล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าพ้นไปจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ
ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสได้แล้ว เรากล่าวว่า สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น
พ้นจากทุกข์ได้แล้ว
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอนาคต ฯลฯ
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในปัจจุบัน เห็นรูปที่เป็นปิยรูป เป็น
สาตรูปในโลก โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เป็นโรค เป็นภัย
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าละตัณหาได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดละ
ตัณหาได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าละอุปธิได้ สมณะหรือพราหมณ์
เหล่าใดละอุปธิได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าละทุกข์ได้ สมณะหรือพราหมณ์
เหล่าใดละทุกข์ได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าพ้นไปจากชาติ ชรา มรณะ
โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสได้ เรากล่าวว่า สมณะหรือพราหมณ์
เหล่านั้นพ้นจากทุกข์ไปได้”

สัมมสสูตรที่ 6 จบ

7. นฬกลาปิสูตร
ว่าด้วยกำไม้อ้อ

[67] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาโกฏฐิตะพักอยู่ ณ ป่า
อิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุงพาราณสี ครั้นถึงเวลาเย็น ท่านพระมหาโกฏฐิตะออก
จากที่หลีกเร้น เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่
บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันกับท่านพระสารีบุตรแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ท่านพระ-
มหาโกฏฐิตะได้ถามท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า
“ท่านสารีบุตร ชราและมรณะเป็นสิ่งที่ตนกระทำเอง เป็นสิ่งที่คนอื่นกระทำให้
เป็นสิ่งที่ตนกระทำเองด้วย และเป็นสิ่งที่คนอื่นกระทำให้ด้วย หรือว่าชราและมรณะ
เกิดขึ้นเพราะอาศัยเหตุที่ตนกระทำเองก็มิใช่ และคนอื่นกระทำให้ก็มิใช่หรือ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 16 หน้า :134 }