เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [1. นิทานสังยุต]
7. มหาวรรค 3. ปุตตมังสสูตร

วิญญาณาหาร จะพึงเห็นได้อย่างไร
คือ เปรียบเหมือนราชบุรุษทั้งหลายจับโจรผู้ประพฤติชั่วได้แล้ว จึงทูลแสดงแด่
พระราชาว่า ‘ขอเดชะ ผู้นี้เป็นโจรประพฤติชั่วต่อพระองค์ ขอจงทรงลงพระอาญา
ตามที่ทรงพระราชประสงค์แก่โจรผู้นี้เถิด’
พระราชามีพระกระแสรับสั่งว่า ‘ท่านทั้งหลาย จงไปช่วยกันประหารมัน
ด้วยหอก 100 เล่มในเวลาเช้า’ ราชบุรุษทั้งหลายก็ช่วยกันประหารนักโทษคนนั้น
ด้วยหอก 100 เล่มในเช้าวันนั้น
ต่อมาในเวลาเที่ยงวัน พระราชาทรงซักถามราชบุรุษทั้งหลายว่า ‘ท่านทั้งหลาย
นักโทษคนนั้นเป็นอย่างไรบ้าง’
ราชบุรุษทั้งหลายกราบทูลว่า ‘เขายังมีชีวิตอยู่ พระพุทธเจ้าข้า’ จึงมี
พระกระแสรับสั่งว่า ‘ท่านทั้งหลาย จงไปช่วยกันประหารมันด้วยหอก 100 เล่ม
ในเวลาเที่ยงวัน’ ราชบุรุษทั้งหลายก็ช่วยกันประหารนักโทษคนนั้นด้วยหอก 100 เล่ม
ในเวลาเที่ยงวัน
ต่อมาในเวลาเย็น พระราชาทรงซักถามราชบุรุษทั้งหลายอีกว่า ‘ท่านทั้งหลาย
นักโทษคนนั้นเป็นอย่างไรบ้าง’
ราชบุรุษทั้งหลายกราบทูลว่า ‘เขายังมีชีวิตอยู่ พระพุทธเจ้าข้า’ จึงมี
พระกระแสรับสั่งว่า ‘ท่านทั้งหลาย จงไปช่วยกันประหารมันด้วยหอก 100 เล่ม
ในเวลาเย็น’
ราชบุรุษทั้งหลายก็ช่วยกันประหารนักโทษคนนั้นด้วยหอก 100 เล่ม ในเวลาเย็น
เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร
คือ เมื่อเขาถูกประหารด้วยหอก 300 เล่มตลอดทั้งวัน จะพึงได้เสวยทุกข์-
โทมนัสซึ่งมีการประหารนั้นเป็นเหตุ มิใช่หรือ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 16 หน้า :122 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [1. นิทานสังยุต]
7. มหาวรรค 4. อัตถิราคสูตร

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเขาถูกประหารแม้ด้วยหอก 1 เล่ม ยังได้เสวย
ทุกข์โทมนัสซึ่งมีการประหารนั้นเป็นเหตุ ไม่ต้องพูดถึงเมื่อถูกประหารด้วยหอก
300 เล่ม”
“ภิกษุทั้งหลาย อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น เรากล่าวว่า ‘บุคคลพึงเห็น
วิญญาณาหาร (เปรียบเหมือนนักโทษประหาร)’ เมื่ออริยสาวก กำหนดรู้วิญญาณา-
หารได้แล้ว ก็เป็นอันกำหนดรู้นามรูปได้ เมื่อกำหนดรู้นามรูปได้แล้ว เรากล่าวว่า
ไม่มีสิ่งใดที่อริยสาวกพึงทำให้ยิ่งไปกว่านี้”

ปุตตมังสสูตรที่ 3 จบ

4. อัตถิราคสูตร
ว่าด้วยราคะมีอยู่

[64] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย อาหาร 4 อย่างนี้ เป็นไปเพื่อความดำรงอยู่ของหมู่สัตว์ผู้
เกิดแล้ว หรือเพื่ออนุเคราะห์หมู่สัตว์ผู้แสวงหาที่เกิด
อาหาร 4 อย่าง อะไรบ้าง คือ
1. กวฬิงการาหาร ที่หยาบหรือละเอียด
2. ผัสสาหาร
3. มโนสัญเจตนาหาร
4. วิญญาณาหาร
อาหาร 4 อย่างนี้ เป็นไปเพื่อความดำรงอยู่ของหมู่สัตว์ผู้เกิดแล้ว หรือเพื่อ
อนุเคราะห์หมู่สัตว์ผู้แสวงหาที่เกิด
ถ้าราคะ(ความกำหนัด) นันทิ(ความเพลิดเพลิน) ตัณหา(ความทะยานอยาก)
มีอยู่ ในกวฬิงการาหาร วิญญาณจะตั้งอยู่งอกงามในกวฬิงการาหารนั้น ที่ใดวิญญาณ
ตั้งอยู่งอกงาม ที่นั้นย่อมมีนามรูปหยั่งลง ที่ใดมีนามรูปหยั่งลง ที่นั้นย่อมมีความเจริญ
แห่งสังขารทั้งหลาย ที่ใดมีความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย ที่นั้นย่อมมีการเกิดในภพ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 16 หน้า :123 }