เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [1. นิทานสังยุต]
7. มหาวรรค 2. ทุติยอัสสุตวาสูตร

2. ทุติยอัสสุตวาสูตร
ว่าด้วยผู้ไม่ได้สดับ สูตรที่ 2

[62] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ พึงเบื่อหน่ายบ้าง คลายกำหนัดบ้าง
หลุดพ้นบ้าง จากกายซึ่งเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง 4 นี้
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะเหตุที่การประชุมก็ดี ความสิ้นไปก็ดี การยึดถือก็ดี การทอดทิ้งกายซึ่ง
เป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง 4 นี้ก็ดี ย่อมปรากฏ เพราะฉะนั้น ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ
พึงเบื่อหน่ายบ้าง คลายกำหนัดบ้าง หลุดพ้นบ้างจากกายนั้น
ตถาคตเรียกสิ่งนี้ว่า ‘จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง’ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับไม่อาจ
เบื่อหน่าย คลายกำหนัด หลุดพ้นไปจากจิตเป็นต้นนั้นได้
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะจิตเป็นต้นนี้ ถูกรัดไว้ด้วยตัณหา ยึดถือว่าเป็นของเรา เป็นสิ่งที่ปุถุชน
ผู้ไม่ได้สดับยึดมั่นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา’ ตลอดกาลนาน
เพราะฉะนั้น ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ จึงไม่อาจเบื่อหน่าย คลายกำหนัด หลุดพ้นไปจาก
จิตเป็นต้นนั้นได้
ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ พึงยึดถือกายซึ่งเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูต
ทั้ง 4 นี้ โดยความเป็นอัตตายังประเสริฐกว่า ส่วนการยึดถือจิตโดยความเป็นอัตตา
ไม่ประเสริฐเลย
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะกายซึ่งเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง 4 นี้ เมื่อดำรงอยู่ 1 ปีบ้าง 2 ปีบ้าง
3 ปีบ้าง 4 ปีบ้าง 5 ปีบ้าง 10 ปีบ้าง 20 ปีบ้าง 30 ปีบ้าง 40 ปีบ้าง 50 ปีบ้าง
100 ปีบ้าง หรือเกินกว่าบ้าง ก็ยังปรากฏ
ตถาคตเรียกสิ่งนี้ว่า ‘จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง’ จิตเป็นต้นนั้น ดวงหนึ่ง
เกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไปตลอดทั้งคืนและวัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 16 หน้า :117 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [1. นิทานสังยุต]
7. มหาวรรค 2. ทุติยอัสสุตวาสูตร

ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับ ย่อมมนสิการปฏิจจสมุปบาทนั้นแหละโดย
แยบคาย ในกายและจิตนั้นว่า ‘เพราะเหตุนี้ เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น
สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เพราะสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ
สุขเวทนาเกิดขึ้น เพราะอาศัยผัสสะที่เป็นปัจจัยแห่งสุขเวทนา
เพราะผัสสะที่เป็นปัจจัยแห่งสุขเวทนานั้นแหละดับไป สุขเวทนาที่เกิดขึ้น
เพราะอาศัยผัสสะที่เป็นปัจจัยแห่งสุขเวทนา ซึ่งเสวยอารมณ์อันเกิดจากผัสสะนั้น
ก็ดับระงับไป
ทุกขเวทนาเกิดขึ้น เพราะอาศัยผัสสะที่เป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนา
เพราะผัสสะที่เป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนานั้นแหละดับไป ทุกขเวทนาที่เกิดขึ้น
เพราะอาศัยผัสสะที่เป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนา ซึ่งเสวยอารมณ์อันเกิดจากผัสสะนั้น
ก็ดับระงับไป
อทุกขมสุขเวทนาเกิดขึ้น เพราะอาศัยผัสสะที่เป็นปัจจัยแห่งอทุกขมสุขเวทนา
เพราะผัสสะที่เป็นปัจจัยแห่งอทุกขมสุขเวทนานั้นแหละดับไป อทุกขมสุขเวทนา
ที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะที่เป็นปัจจัยแห่งอทุกขมสุขเวทนา ซึ่งเสวยอารมณ์อันเกิดจาก
ผัสสะนั้น ก็ดับระงับไป
ภิกษุทั้งหลาย เพราะไม้สองท่อนเสียดสีกันจึงเกิดความร้อนลุกเป็นไฟ แต่ถ้า
แยกไม้สองท่อนนั้นออกจากกัน ความร้อนที่เกิดจากการเสียดสีกันนั้น ก็จะดับมอดลง
แม้ฉันใด
สุขเวทนาเกิดขึ้น เพราะอาศัยผัสสะที่เป็นปัจจัยแห่งสุขเวทนา
เพราะผัสสะที่เป็นปัจจัยแห่งสุขเวทนานั้นแหละดับไป สุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะ
อาศัยผัสสะที่เป็นปัจจัยแห่งสุขเวทนา ซึ่งเสวยอารมณ์อันเกิดจากผัสสะนั้น ก็ดับ
ระงับไป
ทุกขเวทนาเกิดขึ้น เพราะอาศัยผัสสะที่เป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนา
เพราะผัสสะที่เป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนานั้นแหละดับไป ทุกขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะ
อาศัยผัสสะที่เป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนา ซึ่งเสวยอารมณ์อันเกิดจากผัสสะนั้น ก็ดับ
ระงับไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 16 หน้า :118 }