เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [1. นิทานสังยุต]
6. ทุกขวรรค 2. อุปาทานสูตร

“อีกอย่างหนึ่ง เมื่อภพไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะภพดับ ชาติพึง
ปรากฏหรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“อีกอย่างหนึ่ง เมื่อชาติไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะชาติดับ ชราและมรณะ
พึงปรากฏหรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ดีละ ดีละ ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงสำคัญ จงเชื่อ น้อมใจเชื่อข้อความ
นั้นอย่างนั้นเถิด จงหมดความเคลือบแคลงสงสัยในข้อนั้นเถิด นั่นแลคือที่สุด
แห่งทุกข์”

ปริวีมังสนสูตรที่ 1 จบ

2. อุปาทานสูตร
ว่าด้วยความยึดมั่นถือมั่น

[52] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มี
พระภาค...
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุพิจารณาเห็นความพอใจเนือง ๆ ในธรรมทั้งหลาย
ที่เป็นปัจจัยแห่งอุปาทาน ตัณหาย่อมเจริญ เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็น
ปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงมี ความเกิดขึ้นแห่ง
กองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้
เปรียบเหมือนกองไฟใหญ่ที่สุมด้วยไม้ 10 เล่มเกวียนบ้าง 20 เล่มเกวียนบ้าง
30 เล่มเกวียนบ้าง 40 เล่มเกวียนบ้าง พึงลุกโพลง บุรุษใส่หญ้าแห้ง โคมัยแห้งและ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [1. นิทานสังยุต]
6. ทุกขวรรค 2. อุปาทานสูตร

ไม้แห้งเข้าไปในกองไฟนั้น ทุก ๆ ระยะ ก็เมื่อเป็นอย่างนี้ กองไฟใหญ่นั้น ได้อาหาร1
อย่างนั้น ได้เชื้อ2อย่างนั้น พึงลุกโพลงตลอดกาลนาน อุปมานี้ฉันใด อุปไมย
ก็ฉันนั้น เมื่อภิกษุพิจารณาเห็นความพอใจเนือง ๆ ในธรรมทั้งหลายที่เป็นปัจจัยแห่ง
อุปาทาน ตัณหาย่อมเจริญ เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี ฯลฯ ความเกิดขึ้น
แห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้
เมื่อภิกษุพิจารณาเห็นโทษเนือง ๆ ในธรรมทั้งหลายที่เป็นปัจจัยแห่งอุปาทาน
ตัณหาย่อมดับ เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ
เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส
และอุปายาสจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้
ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนกองไฟใหญ่ที่สุมด้วยไม้ 10 เล่มเกวียนบ้าง
20 เล่มเกวียนบ้าง 30 เล่มเกวียนบ้าง 40 เล่มเกวียนบ้าง พึงลุกโพลง บุรุษ
ไม่ใส่หญ้าแห้ง โคมัยแห้งและไม้แห้งเข้าไปในกองไฟนั้นทุก ๆ ระยะ ก็เมื่อเป็นอย่างนี้
กองไฟใหญ่นั้นไม่ได้อาหารอย่างนั้น ไม่ได้เชื้ออย่างนั้น พึงดับไป เพราะสิ้นเชื้อเก่า
และไม่เติมเชื้อใหม่ อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น เมื่อภิกษุพิจารณาเห็นโทษเนือง ๆ
ในธรรมทั้งหลายที่เป็นปัจจัยแห่งอุปาทาน ตัณหาย่อมดับ เพราะตัณหาดับ อุปาทาน
จึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้”

อุปาทานสูตรที่ 2 จบ