เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [1. เทวดาสังยุต]
4. สตุลลปกายิกวรรค 8. สกลิกสูตร

ลำดับนั้น เทวดาอีกองค์หนึ่งได้เปล่งอุทานนี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระสมณโคดมเป็นบุรุษผู้องอาจจริง ก็แลพระสมณโคดมมี
พระสติสัมปชัญญะ ทรงอดกลั้นทุกขเวทนาทางพระวรกายที่กล้าแข็งอย่างหนัก เผ็ดร้อน
อันไม่สบายพระทัย ที่เกิดขึ้นแล้วไว้ได้ เพราะความที่พระองค์เป็นบุรุษผู้องอาจ ไม่ทรง
เดือดร้อน”
ลำดับนั้น เทวดาอีกองค์หนึ่งได้เปล่งอุทานนี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระสมณโคดมเป็นบุรุษผู้ใฝ่ธุระจริง ก็แลพระสมณโคดม
มีพระสติสัมปชัญญะ ทรงอดกลั้นทุกขเวทนาทางพระวรกายที่กล้าแข็งอย่างหนัก
เผ็ดร้อน อันไม่สบายพระทัย ที่เกิดขึ้นแล้วไว้ได้ เพราะความที่พระองค์เป็นบุรุษผู้
ใฝ่ธุระ ไม่ทรงเดือดร้อน”
ลำดับนั้น เทวดาอีกองค์หนึ่งได้เปล่งอุทานนี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระสมณโคดมเป็นบุรุษผู้ฝึกแล้วจริง ก็แลพระสมณโคดม
มีพระสติสัมปชัญญะ ทรงอดกลั้นทุกขเวทนาทางพระวรกายที่กล้าแข็งอย่างหนัก
เผ็ดร้อน อันไม่สบายพระทัย ที่เกิดขึ้นแล้วไว้ได้ เพราะความที่พระองค์เป็นบุรุษ
ผู้ฝึกแล้ว ไม่ทรงเดือดร้อน”
ลำดับนั้น เทวดาอีกองค์หนึ่งได้เปล่งอุทานนี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
“ท่านจงดูสมาธิ1ที่พระสมณโคดมทรงเจริญดีแล้ว จงดูจิตที่พระสมณโคดมทรงให้
หลุดพ้นดีแล้ว2 จิตที่เป็นไปตามราคะพระสมณโคดมก็ไม่ให้น้อมไปถึงแล้ว จิตที่
เป็นไปตามโทสะพระสมณโคดมก็ไม่ให้หวนกลับมาแล้ว และจิตของพระสมณโคดม
ไม่ต้องตั้งใจข่มและคอยห้ามปราม บุคคลใดพึงสำคัญพระสมณโคดมเป็นบุรุษดุจนาค


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [1. เทวดาสังยุต]
4. สตุลลปกายิกวรรค 8. สกลิกสูตร

เป็นบุรุษดุจราชสีห์ เป็นบุรุษอาชาไนย เป็นบุรุษผู้องอาจ เป็นบุรุษผู้ใฝ่ธุระ และ
เป็นบุรุษผู้ฝึกแล้วเห็นปานนี้ว่า เป็นผู้ที่ตนจะล่วงเกินได้ บุคคลนั้นจะเป็นอะไรเล่า
นอกเสียจากผู้ไม่มีทัสสนะ1”
(เทวดานั้นครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ได้กล่าวคาถาทั้งหลายเหล่านี้ว่า)
พราหมณ์ทั้งหลาย ผู้ทรงเวททั้ง 52 มีตบะ
ประพฤติธรรมอยู่อย่างสม่ำเสมอตั้ง 100 ปี
แต่จิตของพราหมณ์เหล่านั้นก็ไม่หลุดพ้นโดยชอบ
เพราะพราหมณ์เหล่านั้นมีสภาพจิตต่ำ
จึงไม่ถึงจุดจบ3(แห่งความตาย)
พราหมณ์เหล่านั้นถูกตัณหาครอบงำแล้ว
เกี่ยวข้องด้วยศีลพรต ประพฤติตบะอันเศร้าหมองอยู่ตั้ง 100 ปี
แต่จิตของพราหมณ์เหล่านั้นก็ไม่หลุดพ้นแล้วโดยชอบ
เพราะพราหมณ์เหล่านั้นมีสภาพจิตต่ำ จึงไม่ถึงจุดจบ
บุคคลผู้มีมานะ ย่อมไม่มีการฝึกตนเอง
บุคคลผู้มีจิตไม่มั่นคง ย่อมไม่มีความรู้
บุคคลผู้ประมาทอยู่ในป่าคนเดียว
ก็ไม่ถึงจุดจบแห่งความตาย