เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [1. เทวดาสังยุต]
4. สตุลลปกายิกวรรค 8. สกลิกสูตร

และถอนกิเลสดุจเสาเขื่อน1ได้แล้ว
จึงไม่หวั่นไหว เป็นผู้หมดจด ปราศจากมลทิน
มีจักษุ2 ฝึกตนดีแล้ว เป็นผู้ประเสริฐ ประพฤติธรรมอยู่
ลำดับนั้น เทวดาอีกองค์หนึ่งได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
บุคคลทั้งหลายผู้ถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ
จักไม่ไปสู่อบายภูมิ ละร่างกายอันเป็นของมนุษย์แล้ว
จักบังเกิดเป็นเทวดาโดยสมบูรณ์

สมยสูตรที่ 7 จบ

8. สกลิกสูตร
ว่าด้วยสะเก็ดหิน

[38] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ มัททกุจฉิ สถานที่พระราชทานอภัย
แก่หมู่เนื้อ เขตกรุงราชคฤห์ สมัยนั้น สะเก็ดหินกระทบพระบาทของผู้มีพระภาค
ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคทรงมีทุกขเวทนาทางพระวรกายที่กล้าแข็งอย่างหนัก


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [1. เทวดาสังยุต]
4. สตุลลปกายิกวรรค 8. สกลิกสูตร

เผ็ดร้อน อันไม่สบายพระทัย ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคมีพระสติสัมปชัญญะ
ทรงอดกลั้นทุกขเวทนานั้นไว้ได้ ไม่ทรงเดือดร้อน
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ปูผ้าสังฆาฏิ 4 ชั้น ทรงสำเร็จสีหไสยา
(การนอนดุจราชสีห์) โดยพระปรัศว์เบื้องขวา ทรงซ้อนพระบาทเหลื่อมพระบาท
มีพระสติสัมปชัญญะ
ครั้นเมื่อราตรีผ่านไป พวกเทวดาสตุลลปกายิกาประมาณ 700 องค์ มีวรรณะ
งดงามยิ่งนัก เปล่งรัศมีให้สว่างทั่วมัททกุจฉิ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร
เทวดาองค์หนึ่งยืนอยู่ ณ ที่สมควรแล้วได้เปล่งอุทานนี้ในสำนักของพระผู้มี-
พระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระสมณโคดมเป็นบุรุษดุจนาค1จริง ก็แลพระ-
สมณโคดมมีพระสติสัมปชัญญะ ทรงอดกลั้นทุกขเวทนาทางพระวรกายที่กล้าแข็ง
อย่างหนัก เผ็ดร้อน อันไม่สบายพระทัย ที่เกิดขึ้นแล้วไว้ได้ เพราะความที่พระองค์
เป็นบุรุษดุจนาค ไม่ทรงเดือดร้อน”
ลำดับนั้น เทวดาอีกองค์หนึ่งได้เปล่งอุทานนี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระสมณโคดมเป็นบุรุษดุจราชสีห์จริง ก็แลพระสมณโคดม
มีพระสติสัมปชัญญะ ทรงอดกลั้นทุกขเวทนาทางพระวรกายที่กล้าแข็งอย่างหนัก
เผ็ดร้อน อันไม่สบายพระทัย ที่เกิดขึ้นแล้วไว้ได้ เพราะความที่พระองค์เป็นบุรุษ
ดุจราชสีห์ ไม่ทรงเดือดร้อน”
ลำดับนั้น เทวดาอีกองค์หนึ่งได้เปล่งอุทานนี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระสมณโคดมเป็นบุรุษอาชาไนยจริง ก็แลพระสมณโคดม
มีพระสติสัมปชัญญะ ทรงอดกลั้นทุกขเวทนาทางพระวรกายที่กล้าแข็งอย่างหนัก
เผ็ดร้อนอันไม่สบายพระทัย ที่เกิดขึ้นแล้วไว้ได้ เพราะความที่พระองค์เป็นบุรุษ
อาชาไนยไม่ทรงเดือดร้อน”