เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [1. เทวดาสังยุต]
4. สตุลลปกายิกวรรค 5. อุชฌานสัญญิสูตร

ครั้งนั้น เทวดาเหล่านั้นลงมายืนอยู่บนพื้นดิน หมอบลงแทบพระยุคลบาท
ของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้าแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์ได้กระทำความผิดเพราะความโง่เขลาเบาปัญญา
พวกข้าพระองค์ได้สำคัญผิดว่าพระผู้มีพระภาคอันพวกเราพึงรุกราน ขอพระผู้มี
พระภาคโปรดอภัยโทษแก่พวกข้าพระองค์ เพื่อสำรวมต่อไปเถิด พระพุทธเจ้าข้า”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแย้มพระโอษฐ์แล้ว
ครั้งนั้น เทวดาเหล่านั้นผู้เพ่งโทษโดยประมาณยิ่ง กลับขึ้นไปบนอากาศ เทวดา
องค์หนึ่งได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
เมื่อเราขอโทษอยู่ หากบุคคลใดไม่ยอมยกโทษให้
ยังมีความโกรธอยู่ภายใน มีความแค้นเคืองหนัก
บุคคลนั้น ชื่อว่าย่อมผูกเวร
หากว่าในโลกนี้ โทษไม่มี ความผิดไม่มี
และเวรทั้งหลายไม่สงบ
บุคคลในโลกนี้พึงเป็นผู้ฉลาดได้อย่างไร
ใครบ้างไม่มีโทษ ใครบ้างไม่มีความผิด
ใครบ้างไม่ถึงความหลงใหล
ในโลกนี้ ใครเป็นผู้มีปัญญา เป็นผู้มีสติในกาลทุกเมื่อเล่า
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
พระตถาคตพระองค์นั้นผู้ตรัสรู้แล้ว
ผู้อนุเคราะห์แก่สัตว์ทั้งปวง ไม่มีโทษ ไม่มีความผิด
พระตถาคตพระองค์นั้น ไม่ถึงความหลงใหล
พระตถาคตพระองค์นั้นเป็นผู้มีปัญญา เป็นผู้มีสติในกาลทุกเมื่อ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 15 หน้า :46 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [1. เทวดาสังยุต]
4. สตุลลปกายิกวรรค 6. สัทธาสูตร

เมื่อพวกท่านขอโทษอยู่ หากบุคคลใดไม่ยอมยกโทษให้
ยังมีความโกรธอยู่ภายใน มีความแค้นเคืองหนัก
บุคคลนั้น ชื่อว่าย่อมผูกเวร
เราไม่ชอบใจเวรนั้น จึงยกโทษให้แก่ท่านทั้งหลาย

อุชฌานสัญญิสูตรที่ 5 จบ

6. สัทธาสูตร
ว่าด้วยศรัทธา

[36] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้นเมื่อราตรีผ่านไป พวกเทวดาสตุลล-
ปกายิกาจำนวนมากมีวรรณะงดงามยิ่งนัก เปล่งรัศมีให้สว่างทั่วพระเชตวัน เข้าไป
เฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร
เทวดาองค์หนึ่งยืนอยู่ ณ ที่สมควรแล้ว ได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของพระผู้มี
พระภาคว่า
ศรัทธาเป็นเพื่อนของบุรุษ
หากว่าความไม่มีศรัทธาไม่ตั้งอยู่
เพราะเหตุนั้น ยศและเกียรติย่อมมีแก่เขา
อนึ่ง ผู้นั้นละทิ้งร่างกายแล้วย่อมไปสู่สวรรค์
ลำดับนั้น เทวดาอีกองค์หนึ่งได้กล่าวคาถาเหล่านี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
บุคคลควรละความโกรธ สละมานะ
ก้าวล่วงสังโยชน์ได้หมดทุกอย่าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 15 หน้า :47 }