เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [1. เทวดาสังยุต]
4. สตุลลปกายิกวรรค 2. มัจฉริสูตร

บุคคลควรสมาคมกับพวกสัตบุรุษเท่านั้น
ควรทำความสนิทสนมกับพวกสัตบุรุษ
บุคคลรู้แจ้งสัทธรรมของพวกสัตบุรุษแล้ว
ย่อมหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวง”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสคาถานี้แล้ว เทวดาเหล่านั้นมีใจยินดีถวายอภิวาท
พระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณแล้วหายตัวไป ณ ที่นั้นนั่นเอง

สัพภิสูตรที่ 1 จบ

2. มัจฉริสูตร
ว่าด้วยคนตระหนี่

[32] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้นเมื่อราตรีผ่านไป พวกเทวดาสตุลล-
ปกายิกาจำนวนมากมีวรรณะงดงามยิ่งนัก เปล่งรัศมีให้สว่างทั่วพระเชตวัน เข้าไป
เฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร
เทวดาองค์หนึ่งยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของพระผู้มี-
พระภาคว่า
เพราะความตระหนี่และความประมาท
บุคคลจึงให้ทานอย่างนี้ไม่ได้
บุคคลผู้หวังบุญรู้แจ้งอยู่จึงให้ทานได้
ลำดับนั้น เทวดาอีกองค์หนึ่งได้กล่าวคาถาเหล่านี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
คนตระหนี่กลัวสิ่งใดแล้วไม่ให้ทาน
สิ่งนั้นนั่นเองเป็นภัยแก่เขาผู้ไม่ให้
ความหิวและความกระหายที่คนตระหนี่กลัว
ย่อมถูกต้องเขานั่นเองซึ่งเป็นคนเขลา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 15 หน้า :37 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [1. เทวดาสังยุต]
4. สตุลลปกายิกวรรค 2. มัจฉริสูตร

ทั้งในโลกนี้และในโลกหน้า
ฉะนั้น บุคคลควรกำจัดความตระหนี่
ครอบงำมลทินแล้วให้ทานเถิด
เพราะบุญเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลายในโลกหน้า
ลำดับนั้น เทวดาอีกองค์หนึ่งได้กล่าวคาถาเหล่านี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
คนเหล่าใดเมื่อของมีน้อยก็แบ่งให้
เหมือนคนเดินทางไกลแบ่งของให้เพื่อนร่วมทาง
เมื่อคนเหล่าอื่นตาย คนเหล่านั้นชื่อว่าไม่ตาย
ธรรมนี้เป็นธรรมเก่าแก่
คนพวกหนึ่งเมื่อมีของน้อยก็แบ่งให้ได้
พวกหนึ่งมีของมากกลับแบ่งให้ไม่ได้
ทักษิณาที่ให้จากของน้อย นับว่าเท่ากับของเป็นพัน
ลำดับนั้น เทวดาอีกองค์หนึ่งได้กล่าวคาถาเหล่านี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
พวกคนพาลเมื่อจะให้ทานก็ให้ยาก
เมื่อจะทำงานก็ทำยาก
พวกอสัตบุรุษย่อมไม่ทำตามธรรมของสัตบุรุษ
เพราะธรรมของสัตบุรุษดำเนินตามได้แสนยาก
ฉะนั้น การไปจากโลกนี้ของพวกสัตบุรุษ
และอสัตบุรุษจึงแตกต่างกัน
พวกอสัตบุรุษพากันลงนรก
ส่วนพวกสัตบุรุษพากันขึ้นสวรรค์
ลำดับนั้น เทวดาอีกองค์หนึ่งได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระ-
ผู้มีพระภาค คำของใครหนอเป็นสุภาษิต”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 15 หน้า :38 }