เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [11. สักกสังยุต]
1. ปฐมวรรค 4. เวปจิตติสูตร

ท้าวสักกะตรัสว่า
ผู้ใดรู้ว่าคนอื่นโกรธ เป็นผู้มีสติ สงบใจไว้ได้
เราเห็นว่า การสงบใจไว้ได้ของผู้นั้น
เป็นการกีดกันพวกคนพาลไว้ได้
มาตลีเทพบุตรกราบทูลว่า
ข้าแต่ท้าววาสวะ ข้าพระองค์เห็นคุณ
และโทษในความอดกลั้นนี้ว่า
เมื่อใด คนพาลย่อมเข้าใจบุคคลนั้นว่า
ผู้นี้ย่อมอดกลั้นต่อเราเพราะความกลัว
เมื่อนั้น คนมีปัญญาทราม ก็ยิ่งข่มขี่ผู้นั้น
เหมือนโคตัวที่มีกำลังข่มขี่โคตัวที่แพ้ให้หนีไป ฉะนั้น
ท้าวสักกะตรัสว่า
บุคคลจะเข้าใจว่า คนนี้อดกลั้นต่อเราได้
เพราะความกลัว หรือไม่ก็ตามที
ประโยชน์ทั้งหลายของตนเป็นอย่างยิ่ง
ประโยชน์อื่นที่ยิ่งกว่าขันติไม่มี
บุคคลใดเป็นคนแข็งแรง
อดกลั้นต่อผู้อ่อนแรงกว่าได้
ความอดกลั้นของบุคคลนั้น
บัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่าเป็นขันติอย่างยิ่ง
เพราะว่าบุคคลผู้อ่อนแรงจำต้องอดทนอยู่เอง
กำลังของบุคคลใดไม่เข้มแข็ง
บัณฑิตทั้งหลายกล่าวถึงกำลังของบุคคลนั้นว่า ไม่ใช่กำลัง
เพราะว่าไม่มีบุคคลใดกล่าวโต้ตอบบุคคลผู้มีกำลัง
และมีธรรมคุ้มครองแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 15 หน้า :365 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [11. สักกสังยุต]
1. ปฐมวรรค 5. สุภาสิตชยสูตร

ผู้ใดโกรธตอบต่อบุคคลผู้โกรธ
ผู้นั้นย่อมเลวกว่าผู้โกรธ เพราะการโกรธตอบนั้น
บุคคลผู้ไม่โกรธตอบต่อบุคคลผู้โกรธ
ชื่อว่าชนะสงครามที่ชนะได้ยาก
ผู้ใดรู้ว่าผู้อื่นโกรธ เป็นผู้มีสติ สงบใจไว้ได้
ผู้นั้นชื่อว่าประพฤติประโยชน์ของคนทั้ง 2 ฝ่าย
คือฝ่ายตนและฝ่ายผู้อื่น
เมื่อผู้นั้นรักษาประโยชน์ของคนทั้ง 2 ฝ่าย
คือฝ่ายตนและฝ่ายผู้อื่น
ชนทั้งหลายผู้ไม่ฉลาดในธรรมย่อมเข้าใจว่าเป็นคนโง่
ภิกษุทั้งหลาย ก็ท้าวสักกะจอมเทพนั้นอาศัยผลบุญของพระองค์เป็นอยู่
เสวยราชสมบัติอันมีความเป็นใหญ่ยิ่งด้วยความเป็นใหญ่แห่งเทพชั้นดาวดึงส์ ยังมา
พรรณนาคุณของขันติและโสรัจจะไว้ ก็ข้อที่พวกเธอบวชในธรรมวินัยที่เรากล่าว
ชอบแล้ว เป็นผู้อดทนและสงบเสงี่ยมได้ นี้จะพึงงดงามในธรรมวินัยนี้โดยแท้”

เวปจิตติสูตรที่ 4 จบ

5. สุภาสิตชยสูตร
ว่าด้วยการแข่งขันคำสุภาษิต

[251] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น ฯลฯ พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัส
เรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว สงครามระหว่างเทพกับอสูรประชิดกัน
ครั้งนั้น ท้าวเวปจิตติจอมอสูรได้กล่าวกับท้าวสักกะจอมเทพดังนี้ว่า ‘ท่านจอมเทพ
เราจงมาชนะกันด้วยการกล่าวคำสุภาษิตเถิด’ ท้าวสักกะจอมเทพตรัสว่า ‘ท่านท้าว-
เวปจิตติ ตกลงตามนั้น พวกเรามาเอาชนะกันด้วยการกล่าวคำสุภาษิต’ ครั้งนั้น
พวกเทพและพวกอสูรได้ร่วมกันตั้งผู้ตัดสินโดยมีกติกาว่า ‘ผู้ตัดสินเหล่านี้จะต้องรู้
ทั่วถึงคำสุภาษิต และคำทุพภาษิต’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 15 หน้า :366 }