เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [8. วังคีสสังยุต] 11. คัคคราสูตร

11. คัคคราสูตร
ว่าด้วยเรื่องเกิดขึ้นที่สระโบกขรณีชื่อคัคครา

[219] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ฝั่งสระโบกขรณี ชื่อคัคครา
เขตกรุงจัมปา พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ 500 รูป อุบาสกประมาณ
700 คน อุบาสิกาประมาณ 700 คน และเทวดาหลายพันองค์ ได้ยินว่า
พระผู้มีพระภาคมีพระวรรณะและมีพระยศรุ่งเรืองกว่าภิกษุ อุบาสก อุบาสิกา และ
เทวดาเหล่านั้นทั้งหมด
ครั้งนั้น ท่านพระวังคีสะได้มีความคิดดังนี้ว่า “พระผู้มีพระภาคนี้ประทับอยู่ที่
ฝั่งสระโบกขรณี ชื่อคัคครา เขตกรุงจัมปา พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ 500 รูป
อุบาสกประมาณ 700 คน อุบาสิกาประมาณ 700 คน และเทวดาหลายพันองค์
ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคมีพระวรรณะและมีพระยศรุ่งเรืองกว่าภิกษุ อุบาสก
อุบาสิกาและเทวดาเหล่านั้นทั้งหมด ทางที่ดีเราควรสรรเสริญพระผู้มีพระภาค
ด้วยคาถาทั้งหลายอันสมควร ณ ที่เฉพาะพระพักตร์เถิด”
ครั้งนั้น ท่านพระวังคีสะลุกขึ้นจากอาสนะ ห่มผ้าเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนมมือ
ไปทางที่พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระผู้มีพระภาค เนื้อความนี้ย่อมปรากฏแก่ข้าพระองค์ ข้าแต่พระสุคต เนื้อความนี้
ย่อมปรากฏแก่ข้าพระองค์”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เนื้อความนั้นจงปรากฏแก่เธอเถิด วังคีสะ”
ครั้งนั้น ท่านพระวังคีสะได้ทูลสรรเสริญพระผู้มีพระภาค ด้วยคาถาอันสมควร
ณ ที่เฉพาะพระพักตร์ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 15 หน้า :320 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [8. วังคีสสังยุต] 12. วังคีสสูตร

ข้าแต่พระมหามุนีอังคีรส
พระองค์ไพโรจน์ล่วงโลกทั้งหมดด้วยพระยศ
เหมือนดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ที่ปราศจากมลทิน
สว่างจ้าอยู่บนท้องฟ้าที่ปราศจากเมฆหมอก1

คัคคราสูตรที่ 11 จบ

12. วังคีสสูตร
ว่าด้วยพระวังคีสะ

[220] สมัยหนึ่ง ท่านพระวังคีสะอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น ท่านพระวังคีสะบรรลุอรหัตแล้วไม่นาน
เสวยวิมุตติสุขอยู่ ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ในเวลานั้นว่า
ในกาลก่อน เราเป็นผู้มัวเมากาพย์กลอน
ได้เที่ยวไปแล้วทุกบ้านทุกเมือง
ต่อมา เราได้เห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ศรัทธาก็เกิดขึ้นแก่เรา
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ได้ทรงแสดงธรรม คือ ขันธ์ อายตนะ ธาตุ แก่เรา
เราได้ฟังพระธรรมของพระองค์แล้วจึงบวช
พระมุนีได้ตรัสรู้พระโพธิญาณ
เพื่อประโยชน์แก่ชนเป็นอันมาก
แก่ภิกษุและภิกษุณีทั้งหลายผู้ได้บรรลุ ได้เห็นนิยามธรรม2