เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [8. วังคีสสังยุต] 2. อรติสูตร

หมดตัณหา ไม่มีกิเลส ไม่พึงก่อตัณหาดุจป่าในที่ไหน ๆ
ผู้นั้นชื่อว่าเป็นภิกษุ
รูปอย่างใดอย่างหนึ่งในโลกนี้
ทั้งที่อาศัยแผ่นดิน อยู่ในอากาศ อันนับเนื่องในภพ 3
ล้วนไม่เที่ยง คร่ำคร่าไปทั้งนั้น
ท่านผู้รู้ทั้งหลายรู้แจ้งอย่างนี้แล้ว มีตนหลุดพ้นเที่ยวไป
เหล่าปุถุชนที่มีจิตหมกมุ่นในอุปธิทั้งหลาย
คือ รูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ
ท่านจงเป็นผู้ไม่หวั่นไหว กำจัดความพอใจในกามคุณ 5 นี้
ผู้ใดไม่ติดอยู่ในกามคุณ 5 นี้
บัณฑิตทั้งหลายเรียกผู้นั้นว่าเป็นมุนี
ถ้ามิจฉาวิตกที่อิงอาศัยทิฏฐิ 60 ประการ1
ซึ่งเป็นธรรมที่ไม่ตั้งมั่นในกาลไหน ๆ
ผู้ใดไม่พึงเป็นไปในอำนาจกิเลสด้วยอำนาจมิจฉาวิตกเหล่านั้น
ทั้งไม่ชอบกล่าวคำหยาบคาย ผู้นั้นชื่อว่าเป็นภิกษุ
ภิกษุผู้เป็นบัณฑิต มีจิตมั่นคงมานาน ไม่ลวงโลก
มีปัญญาเครื่องบริหาร หมดความทะเยอทะยาน
เป็นมุนี ได้บรรลุสันติบท ดับกิเลสแล้ว รอเวลาอยู่2

อรติสูตรที่ 2 จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [8. วังคีสสังยุต] 3. เปสลาติมัญญนาสูตร

3. เปสลาติมัญญนาสูตร
ว่าด้วยการนึกดูหมิ่นภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก

[211] สมัยหนึ่ง ท่านพระวังคีสะอยู่ที่อัคคาฬวเจดีย์ เขตเมืองอาฬวี กับท่าน
พระนิโครธกัปปะผู้เป็นอุปัชฌาย์ สมัยนั้น ท่านพระวังคีสะนึกดูหมิ่นภิกษุทั้งหลาย
ผู้มีศีลเป็นที่รักเหล่าอื่น เพราะปฏิภาณของตน ครั้งนั้น ท่านพระวังคีสะได้มีความคิด
ดังนี้ว่า “ไม่ใช่ลาภของเราเลย ไม่ใช่ลาภของเราเลย เราได้ชั่วหนอ เราไม่ได้ดีหนอ
ที่เราดูหมิ่นภิกษุทั้งหลาย ผู้มีศีลเป็นที่รักเหล่าอื่น เพราะปฏิภาณของตน”
ครั้งนั้น ท่านพระวังคีสะให้ความเดือดร้อนเกิดขึ้นแก่ตนด้วยตนเองแล้ว จึงกล่าว
คาถาเหล่านี้ในเวลานั้นว่า
ท่านผู้เป็นสาวกของพระโคดม
ท่านจงละความเย่อหยิ่ง
และจงละทางแห่งความเย่อหยิ่งให้หมด
เพราะผู้ที่หมกมุ่นอยู่ในทางแห่งความเย่อหยิ่ง
จะต้องเดือดร้อนเป็นเวลานาน
หมู่สัตว์ที่ยังลบหลู่คุณท่าน
ถูกความเย่อหยิ่งกำจัดแล้ว ย่อมตกนรก
เหล่าปุถุชนที่ถูกความเย่อหยิ่งกำจัดแล้ว
เกิดในนรก ย่อมเศร้าโศกตลอดกาลนาน
บางครั้ง ภิกษุปฏิบัติชอบแล้ว
ชนะกิเลสได้ด้วยมรรค ไม่เศร้าโศกเลย
ยังกลับได้เกียรติคุณและความสุข
บัณฑิตทั้งหลายเรียกภิกษุผู้ปฏิบัติชอบเช่นนั้นว่าเป็นผู้เห็นธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 15 หน้า :306 }