เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [8. วังคีสสังยุต] 2. อรติสูตร

เพราะว่า เราได้สดับทางเป็นที่ให้ถึงนิพพานนี้
เบื้องพระพักตร์ของพระพุทธเจ้า ผู้เป็นเผ่าพันธุ์ดวงอาทิตย์
ใจของเรายินดีแล้วในทางนั้นแน่นอน
มารผู้มีบาป ถ้าท่านยังเข้ามาหาเราผู้อยู่ด้วยอาการอย่างนี้
เราก็จะทำให้ท่านมองไม่เห็นทางของเรา1

นิกขันตสูตรที่ 1 จบ

2. อรติสูตร
ว่าด้วยความไม่ยินดี

[210] สมัยหนึ่ง ท่านพระวังคีสะอยู่ที่อัคคาฬวเจดีย์ เขตเมืองอาฬวี
กับท่านพระนิโครธกัปปะผู้เป็นอุปัชฌาย์ สมัยนั้น ท่านพระนิโครธกัปปะกลับจาก
บิณฑบาต ภายหลังจากฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว เข้าไปยังวิหาร แล้วออกมาใน
เวลาเย็นบ้าง ในเวลาภิกขาจารในวันรุ่งขึ้นบ้าง
สมัยนั้น ท่านพระวังคีสะเกิดความไม่ยินดี ความกำหนัดรบกวนจิต ลำดับนั้น
ท่านพระวังคีสะได้มีความคิดดังนี้ว่า “ไม่ใช่ลาภของเราเลย ไม่ใช่ลาภของเราเลย
เราได้ชั่วหนอ เราไม่ได้ดีหนอที่เราเกิดความไม่ยินดี ความกำหนัดรบกวนจิต เหตุที่
จะให้คนอื่นช่วยบรรเทาความไม่ยินดี ทำความยินดีให้เกิดขึ้นแก่เรานั้น เราจะได้จาก
ที่ไหน ทางที่ดีเราพึงบรรเทาความไม่ยินดี ทำความยินดีให้เกิดขึ้นแก่ตนด้วยตนเองเถิด”
ครั้งนั้น ท่านพระวังคีสะบรรเทาความไม่ยินดีแล้ว ทำความยินดีให้เกิดขึ้นแก่
ตนด้วยตนเองแล้ว จึงกล่าวคาถาเหล่านี้ในเวลานั้นว่า
ผู้ใดละความยินดี ความไม่ยินดี
และความตรึกเกี่ยวกับบ้านเรือนได้ทั้งหมด


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [8. วังคีสสังยุต] 2. อรติสูตร

หมดตัณหา ไม่มีกิเลส ไม่พึงก่อตัณหาดุจป่าในที่ไหน ๆ
ผู้นั้นชื่อว่าเป็นภิกษุ
รูปอย่างใดอย่างหนึ่งในโลกนี้
ทั้งที่อาศัยแผ่นดิน อยู่ในอากาศ อันนับเนื่องในภพ 3
ล้วนไม่เที่ยง คร่ำคร่าไปทั้งนั้น
ท่านผู้รู้ทั้งหลายรู้แจ้งอย่างนี้แล้ว มีตนหลุดพ้นเที่ยวไป
เหล่าปุถุชนที่มีจิตหมกมุ่นในอุปธิทั้งหลาย
คือ รูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ
ท่านจงเป็นผู้ไม่หวั่นไหว กำจัดความพอใจในกามคุณ 5 นี้
ผู้ใดไม่ติดอยู่ในกามคุณ 5 นี้
บัณฑิตทั้งหลายเรียกผู้นั้นว่าเป็นมุนี
ถ้ามิจฉาวิตกที่อิงอาศัยทิฏฐิ 60 ประการ1
ซึ่งเป็นธรรมที่ไม่ตั้งมั่นในกาลไหน ๆ
ผู้ใดไม่พึงเป็นไปในอำนาจกิเลสด้วยอำนาจมิจฉาวิตกเหล่านั้น
ทั้งไม่ชอบกล่าวคำหยาบคาย ผู้นั้นชื่อว่าเป็นภิกษุ
ภิกษุผู้เป็นบัณฑิต มีจิตมั่นคงมานาน ไม่ลวงโลก
มีปัญญาเครื่องบริหาร หมดความทะเยอทะยาน
เป็นมุนี ได้บรรลุสันติบท ดับกิเลสแล้ว รอเวลาอยู่2

อรติสูตรที่ 2 จบ