เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [7. พราหมณสังยุต]
2. อุปาสกวรรค 8. กัฏฐหารสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ความมุ่งหวัง1หรือความเพลิดเพลินอย่างใดอย่างหนึ่ง
ในอารมณ์หลายชนิดซึ่งมีอยู่ประจำทุกเมื่อนานาประการ
หรือตัณหาอันเป็นเหตุให้กระชับแน่นทั้งปวงนั้น
ซึ่งมีความไม่รู้เป็นมูลรากก่อให้เกิดต่อ ๆ ไป
เราทำให้สิ้นสุดพร้อมทั้งรากแล้ว
เรานั้นจึงไม่มีความมุ่งหวัง ไม่มีตัณหาอาศัย
ไม่มีตัณหาเข้ามาใกล้ มีปกติเห็นหมดจดในธรรมทั้งปวง
บรรลุสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยม2 ประเสริฐสุดแล้ว
เราจึงควรแก่ความเป็นพรหม แกล้วกล้า เพ่งพินิจอยู่3
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว พราหมณ์ภารทวาชโคตรได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจน
ไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก
ฯลฯ ขอพระโคดมผู้เจริญโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่
วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”

กัฏฐหารสูตรที่ 8 จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [7. พราหมณสังยุต]
2. อุปาสกวรรค 9. มาตุโปสกสูตร

9. มาตุโปสกสูตร
ว่าด้วยมาตุโปสกพราหมณ์

[205] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น มาตุโปสกพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้สนทนา
ปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์แสวงหาภิกษาโดยธรรม
ได้มาแล้วก็เลี้ยงมารดาและบิดา ข้าพระองค์ทำเช่นนี้ ชื่อว่าทำกิจที่ควรทำหรือไม่”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ชอบยิ่งนัก พราหมณ์ ท่านทำดังนี้ชื่อว่าได้ทำกิจที่
ควรทำแท้ ด้วยว่าผู้ใดแสวงหาภิกษาโดยธรรมได้มาแล้วก็เลี้ยงมารดาและบิดา ผู้นั้น
ย่อมประสบบุญเป็นอันมาก”
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาได้ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา
ประพันธ์ต่อไปอีกว่า
บุคคลใดเลี้ยงมารดาและบิดาโดยชอบธรรม
เพราะการบำรุงเลี้ยงมารดาและบิดาเช่นนี้
บัณฑิตย่อมสรรเสริญบุคคลนั้นขณะที่ยังอยู่ในโลก
ครั้นจากโลกนี้ไปแล้ว ย่อมบันเทิงในโลกสวรรค์
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว มาตุโปสกพราหมณ์ได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะ
ยิ่งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ
ขอพระโคดมผู้เจริญโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้
เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”

มาตุโปสกสูตรที่ 9 จบ