เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [7. พราหมณสังยุต]
2. อุปาสกวรรค 1. กสิภารทวาชสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ศรัทธาเป็นพืช ความเพียรเป็นฝน
ปัญญาของเราเป็นแอกและไถ หิริเป็นงอนไถ
ใจเป็นเชือก สติของเราเป็นผาลและประตัก
เราคุ้มครองกาย คุ้มครองวาจาได้แล้ว
สำรวมในการบริโภคอาหาร
เราดายหญ้า [คือวาจาสับปลับ] ด้วยคำสัตย์
โสรัจจะของเราช่วยทำงานให้สำเร็จ
ความเพียรของเราช่วยนำธุระไปให้ถึงความเกษมจากโยคะ
นำไปไม่ถอยหลัง นำไปถึงที่ ซึ่งบุคคลไปแล้วไม่เศร้าโศก
เราทำนาอย่างนี้ นาที่เราทำนั้นมีผลเป็นอมตะ1
บุคคลครั้นทำนาอย่างนี้แล้ว ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวง
กสิภารทวาชพราหมณ์กราบทูลว่า “พระโคดมผู้เจริญ ผู้เป็นชาวนา ขอจง
บริโภคผลที่เป็นอมตะที่ท่านไถเถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
การที่เรากล่าวคาถามิใช่เพื่ออาหาร
พราหมณ์ นี้ไม่ใช่ธรรมเนียมของผู้เห็นธรรม
พระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่รับอาหารที่ได้มาเพราะการกล่าวคาถา
พราหมณ์ เมื่อธรรมเนียมมีอยู่ จึงมีการประพฤติอย่างนี้
ท่านจงบำรุงด้วยข้าวและน้ำ และด้วยปัจจัยอื่น
แก่พระขีณาสพ ผู้ประกอบด้วยคุณทั้งปวง


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [7. พราหมณสังยุต]
2. อุปาสกวรรค 2. อุทยสูตร

ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ผู้มีความคะนองอันสงบแล้ว
เพราะศาสนานั้นเป็นเขตบุญของผู้แสวงบุญ1
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว กสิภารทวาชพราหมณ์ได้กราบทูลพระผู้
มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก
ฯลฯ ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระโคดมผู้เจริญ พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ
ขอพระโคดมผู้เจริญโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้
เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”

กสิภารทวาชสูตรที่ 1 จบ

2. อุทยสูตร
ว่าด้วยอุทยพราหมณ์

[198] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร เสด็จเข้า
ไปยังที่อยู่ของอุทยพราหมณ์ ลำดับนั้น อุทยพราหมณ์ตักข้าวใส่บาตรถวายจนเต็ม
แม้ครั้งที่ 2 ในเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตรและ
จีวร เสด็จเข้าไปยังที่อยู่ของอุทยพราหมณ์ ฯลฯ ลำดับนั้น อุทยพราหมณ์ก็ตักข้าว
ใส่บาตรถวายจนเต็ม
แม้ครั้งที่ 3 ในเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตรและ
จีวร เสด็จเข้าไปยังที่อยู่ของอุทยพราหมณ์ ฯลฯ ลำดับนั้น อุทยพราหมณ์ก็ตักข้าว
ใส่บาตรถวายจนเต็มแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระสมณโคดมนี้ติด
ในรสจึงเสด็จมาบ่อย ๆ”