เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [7. พราหมณสังยุต]
1.อรหันตวรรค 7. สุทธิกสูตร

มีความเพียร มีปัญญาเครื่องบริหาร
นั้นพึงแก้ความยุ่งนี้ได้
บุคคลเหล่าใดกำจัดราคะ โทสะ และอวิชชาได้แล้ว
บุคคลเหล่านั้น สิ้นอาสวะแล้ว เป็นพระอรหันต์
พวกเขาแก้ความยุ่งได้แล้ว
นามก็ดี รูปก็ดี ปฏิฆสัญญาก็ดี
รูปสัญญาก็ดี ดับไม่เหลือในที่ใด
ความยุ่งนั้นก็ย่อมขาดหายไปในที่นั้น1
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ชฏาภารทวาชพราหมณ์ได้กราบทูลพระ
ผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ”
อนึ่ง ท่านพระชฏาภารทวาชะได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง ในบรรดาพระอรหันต์
ทั้งหลาย

ชฏาสูตรที่ 6 จบ

7. สุทธิกสูตร
ว่าด้วยสุทธิกภารทวาชพราหมณ์

[193] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น สุทธิกภารทวาชพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร
ได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
พราหมณ์บางคนในโลกแม้เป็นผู้มีศีล
บำเพ็ญตบะอยู่ ก็ยังหมดจดไม่ได้
พราหมณ์ผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะเท่านั้น
จึงจะหมดจดได้
ส่วนหมู่สัตว์อื่นนอกจากนี้จะหมดจดไม่ได้เลย


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [7. พราหมณสังยุต]
1. อรหันตวรรค 8. อัคคิกสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
พราหมณ์ ท่านจงรู้อย่างนี้ว่า
บุคคลถึงจะเป็นพราหมณ์โดยกำเนิด
สาธยายมนตร์เป็นอันมาก แต่เป็นผู้เน่าและสกปรกภายใน
อาศัยการโกหกเลี้ยงชีพ ไม่จัดว่าเป็นพราหมณ์
ส่วนกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คนจัณฑาล
และคนเทขยะ ผู้ปรารภความเพียร อุทิศกายและใจอยู่
มีความบากบั่นอยู่เป็นนิตย์ ย่อมถึงความหมดจดอย่างยิ่งได้
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว สุทธิกภารทวาชพราหมณ์ได้กราบทูลดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่พระโคดม
ผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ”
อนึ่ง ท่านพระสุทธิกภารทวาชะได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง ในบรรดาพระอรหันต์
ทั้งหลาย

สุทธิกสูตรที่ 7 จบ

8. อัคคิกสูตร
ว่าด้วยอัคคิกพราหมณ์

[194] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้
เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ สมัยนั้น อัคคิกภารทวาชพราหมณ์ปรุงข้าวปายาส
ด้วยเนยใสด้วยคิดว่า “เราจักบูชาไฟ จักบำเรอการบูชาไฟ”
ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร เสด็จเข้า
ไปบิณฑบาตยังกรุงราชคฤห์ เสด็จไปบิณฑบาตตามลำดับตรอก เข้าไปถึงที่อยู่ของ
อัคคิกภารทวาชพราหมณ์แล้วได้ประทับยืนอยู่ ณ ที่สมควร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 15 หน้า :273 }