เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [5. ภิกขุนีสังยุต] 9. เสลาสูตร

บรรเทาเสียซึ่งมาร ไม่ปราชัยในที่ทุกสถาน
พ้นแล้วจากกิเลสทั้งปวง ไม่มีตัณหาและทิฏฐิอาศัย
มีพระจักษุ ทรงเห็นธรรมทั้งปวง
บรรลุธรรมเป็นที่สิ้นกรรมทุกอย่าง
หลุดพ้นเพราะธรรมเป็นที่สิ้นอุปธิแล้ว
พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเป็นศาสดาของเรา
เราชอบใจคำสอนของพระองค์
ลำดับนั้น มารผู้มีบาปเป็นทุกข์เสียใจว่า “สีสุปจาลาภิกษุณีรู้จักเรา” จึงหาย
ตัวไป ณ ที่นั้นเอง

สีสุปจาลาสูตรที่ 8 จบ

9. เสลาสูตร
ว่าด้วยเสลาภิกษุณี

[170] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้นเวลาเช้า เสลาภิกษุณีครองอันตรวาสก ฯลฯ จึงนั่งพักกลางวันที่โคน
ต้นไม้แห่งหนึ่ง ลำดับนั้น มารผู้มีบาปประสงค์จะให้เสลาภิกษุณีเกิดความกลัว
ความหวาดสะดุ้ง ความขนพองสยองเกล้า ฯลฯ ได้กล่าวกับเสลาภิกษุณีด้วย
คาถาว่า
ใครสร้างร่างกายนี้ ผู้สร้างร่างกายอยู่ที่ไหน
ร่างกายเกิดขึ้นที่ไหน ร่างกายดับที่ไหน
ลำดับนั้น เสลาภิกษุณีได้มีความคิดดังนี้ว่า “นี่ใครหนอมากล่าวคาถา จะเป็น
มนุษย์หรืออมนุษย์กันแน่” ทันใดนั้น เสลาภิกษุณีได้มีความคิดดังนี้อีกว่า “นี่คือ
มารผู้มีบาป ประสงค์จะให้เราเกิดความกลัว ความหวาดสะดุ้ง ความขนพองสยองเกล้า
และประสงค์จะให้เคลื่อนจากสมาธิ จึงกล่าวคาถา”
ครั้งนั้นแล เสลาภิกษุณีทราบว่า “นี่คือมารผู้มีบาป” จึงได้กล่าวกับมารผู้มี
บาปด้วยคาถาว่า
ร่างกายนี้ตนเองก็ไม่ได้สร้าง ผู้อื่นก็ไม่ได้สร้าง
อาศัยเหตุจึงเกิด เพราะเหตุดับจึงดับ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 15 หน้า :226 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [5. ภิกขุนีสังยุต] 10. วชิราสูตร

พืชชนิดใดชนิดหนึ่งที่บุคคลหว่านลงในนา
อาศัยเหตุ 2 ประการ คือรสดินและยางพืช
จึงงอกขึ้น ฉันใด
ขันธ์ ธาตุ และอายตนะ 6 เหล่านี้
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน อาศัยเหตุจึงเกิด เพราะเหตุดับจึงดับ
ลำดับนั้น มารผู้มีบาปเป็นทุกข์เสียใจว่า “เสลาภิกษุณีรู้จักเรา” จึงหายตัวไป
ณ ที่นั้นเอง

เสลาสูตรที่ 9 จบ

10. วชิราสูตร
ว่าด้วยวชิราภิกษุณี

[171] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้นเวลาเช้า วชิราภิกษุณีครองอันตรวาสก ถือบาตร
และจีวร เข้าไปบิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี กลับจากบิณฑบาต ภายหลังจากฉัน
ภัตตาหารเสร็จแล้ว เข้าไปยังป่าอันธวันเพื่อพักกลางวัน ถึงป่าอันธวันแล้ว จึงนั่งพัก
กลางวันที่โคนต้นไม้แห่งหนึ่ง
ลำดับนั้น มารผู้มีบาปประสงค์จะให้วชิราภิกษุณีเกิดความกลัว ความหวาด
สะดุ้ง ความขนพองสยองเกล้า และประสงค์จะให้เคลื่อนจากสมาธิ จึงเข้าไปหา
วชิราภิกษุณีถึงที่นั่งพักแล้วได้กล่าวกับวชิราภิกษุณีด้วยคาถาว่า
ใครสร้างสัตว์นี้ ผู้สร้างสัตว์อยู่ที่ไหน
สัตว์เกิดขึ้นที่ไหน สัตว์ดับที่ไหน
ลำดับนั้น วชิราภิกษุณีได้มีความคิดดังนี้ว่า “นี่ใครหนอมากล่าวคาถา จะเป็น
มนุษย์หรืออมนุษย์กันแน่” ทันใดนั้น วชิราภิกษุณีได้มีความคิดดังนี้อีกว่า “นี่คือมาร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 15 หน้า :227 }