เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [5. ภิกขุนีสังยุต] 8. สีสุปจาลาสูตร

ใจของเรายินดีแน่วแน่ในนิพพาน ซึ่งไม่สั่นสะเทือน
ไม่หวั่นไหว ที่ปุถุชนเสพไม่ได้ มิใช่คติของมาร
ลำดับนั้น มารผู้มีบาปเป็นทุกข์เสียใจว่า “อุปจาลาภิกษุณีรู้จักเรา” จึงหายตัว
ไป ณ ที่นั้นเอง

อุปจาลาสูตรที่ 7 จบ

8. สีสุปจาลาสูตร
ว่าด้วยสีสุปจาลาภิกษุณี

[169] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น สีสุปจาลาภิกษุณีครองอันตรวาสก ฯลฯ จึงนั่งพักกลางวันที่โคนต้นไม้
แห่งหนึ่ง ลำดับนั้น มารผู้มีบาปเข้าไปหาสีสุปจาลาภิกษุณีถึงที่นั่งพัก ได้ถามสีสุป-
จาลาภิกษุณีดังนี้ว่า “ภิกษุณี ท่านชอบใจลัทธิของใคร”
สีสุปจาลาภิกษุณีตอบว่า “ท่านผู้มีอายุ เราไม่ชอบใจลัทธิของใครเลย”
มารผู้มีบาปกล่าวด้วยคาถาว่า
ท่านเป็นคนโล้น เจาะจงใคร
จึงปรากฏตัวเหมือนสมณะ
แต่ทำไมท่านจึงไม่ชอบใจลัทธิ
ท่านประพฤติเรื่องนี้ เพราะความงมงายหรือไร
สีสุปจาลาภิกษุณีกล่าวด้วยคาถาว่า
เจ้าลัทธิภายนอกพระศาสนานี้
ย่อมจมอยู่ในทิฏฐิทั้งหลาย
เราไม่ชอบใจธรรมของพวกเขา
พวกเขาเป็นคนไม่ฉลาดในธรรม
พระพุทธเจ้าผู้เสด็จอุบัติในศากยตระกูล
ไม่มีบุคคลอื่นเปรียบ ทรงครอบงำสิ่งทั้งปวง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 15 หน้า :225 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [5. ภิกขุนีสังยุต] 9. เสลาสูตร

บรรเทาเสียซึ่งมาร ไม่ปราชัยในที่ทุกสถาน
พ้นแล้วจากกิเลสทั้งปวง ไม่มีตัณหาและทิฏฐิอาศัย
มีพระจักษุ ทรงเห็นธรรมทั้งปวง
บรรลุธรรมเป็นที่สิ้นกรรมทุกอย่าง
หลุดพ้นเพราะธรรมเป็นที่สิ้นอุปธิแล้ว
พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเป็นศาสดาของเรา
เราชอบใจคำสอนของพระองค์
ลำดับนั้น มารผู้มีบาปเป็นทุกข์เสียใจว่า “สีสุปจาลาภิกษุณีรู้จักเรา” จึงหาย
ตัวไป ณ ที่นั้นเอง

สีสุปจาลาสูตรที่ 8 จบ

9. เสลาสูตร
ว่าด้วยเสลาภิกษุณี

[170] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้นเวลาเช้า เสลาภิกษุณีครองอันตรวาสก ฯลฯ จึงนั่งพักกลางวันที่โคน
ต้นไม้แห่งหนึ่ง ลำดับนั้น มารผู้มีบาปประสงค์จะให้เสลาภิกษุณีเกิดความกลัว
ความหวาดสะดุ้ง ความขนพองสยองเกล้า ฯลฯ ได้กล่าวกับเสลาภิกษุณีด้วย
คาถาว่า
ใครสร้างร่างกายนี้ ผู้สร้างร่างกายอยู่ที่ไหน
ร่างกายเกิดขึ้นที่ไหน ร่างกายดับที่ไหน
ลำดับนั้น เสลาภิกษุณีได้มีความคิดดังนี้ว่า “นี่ใครหนอมากล่าวคาถา จะเป็น
มนุษย์หรืออมนุษย์กันแน่” ทันใดนั้น เสลาภิกษุณีได้มีความคิดดังนี้อีกว่า “นี่คือ
มารผู้มีบาป ประสงค์จะให้เราเกิดความกลัว ความหวาดสะดุ้ง ความขนพองสยองเกล้า
และประสงค์จะให้เคลื่อนจากสมาธิ จึงกล่าวคาถา”
ครั้งนั้นแล เสลาภิกษุณีทราบว่า “นี่คือมารผู้มีบาป” จึงได้กล่าวกับมารผู้มี
บาปด้วยคาถาว่า
ร่างกายนี้ตนเองก็ไม่ได้สร้าง ผู้อื่นก็ไม่ได้สร้าง
อาศัยเหตุจึงเกิด เพราะเหตุดับจึงดับ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 15 หน้า :226 }