เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [5. ภิกขุนีสังยุต] 4. วิชยาสูตร

บุตรท่านตายแล้ว มาอยู่กลางป่าคนเดียว
เหมือนคนที่ร้องไห้อยู่โดดเดี่ยว
กำลังแสวงหาบุรุษหรืออย่างไร
ลำดับนั้น กีสาโคตมีภิกษุณีได้มีความคิดดังนี้ว่า “นี่ใครหนอมากล่าวคาถา
จะเป็นมนุษย์หรืออมนุษย์กันแน่” ทันใดนั้น กีสาโคตมีภิกษุณีได้มีความคิดดังนี้อีกว่า
“นี่คือมารผู้มีบาป ประสงค์จะให้เราเกิดความกลัว ความหวาดสะดุ้ง ความขนพอง
สยองเกล้า และประสงค์จะให้เคลื่อนจากสมาธิ จึงกล่าวคาถา”
ครั้งนั้นแล กีสาโคตมีภิกษุณีทราบว่า “นี่คือมารผู้มีบาป” จึงได้กล่าวกับมาร
ผู้มีบาปด้วยคาถาว่า
บุตรเราตายมานานแล้ว
บุรุษทั้งหลายก็มีความตายนี้เป็นที่สุดเหมือนกัน
เราไม่เศร้าโศก ไม่ร้องไห้ ไม่กลัวความตายนั้นหรอก
ท่านผู้มีอายุ เรากำจัดความเพลิดเพลินในสิ่งทั้งปวง
ทำลายความมืด ชนะกองทัพมัจจุแล้ว อยู่อย่างไม่มีอาสวะ
ลำดับนั้น มารผู้มีบาปเป็นทุกข์เสียใจว่า “กีสาโคตมีภิกษุณีรู้จักเรา” จึงหายตัว
ไป ณ ที่นั้นเอง

กีสาโคตมีสูตรที่ 3 จบ

4. วิชยาสูตร
ว่าด้วยวิชยาภิกษุณี

[165] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้นเวลาเช้า วิชยาภิกษุณีครองอันตรวาสก ฯลฯ จึงนั่งพักกลางวันที่โคนต้น
ไม้แห่งหนึ่ง ลำดับนั้น มารผู้มีบาปประสงค์จะให้วิชยาภิกษุณีเกิดความกลัว ความ
หวาดสะดุ้ง ความขนพองสยองเกล้า และประสงค์จะให้เคลื่อนจากสมาธิ จึงเข้าไป
หาวิชยาภิกษุณีถึงที่นั่งพักแล้ว ได้กล่าวกับวิชยาภิกษุณีด้วยคาถาว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 15 หน้า :220 }