เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [4. มารสังยุต] 3. ตติยวรรค 3. โคธิกสูตร

แต่ไกลเทียว ก็สมัยนั้น กลุ่มควันกลุ่มหมอกลอยไปทางทิศตะวันออก ทิศตะวันตก
ทิศเหนือ ทิศใต้ ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง และทิศเฉียง
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย
เธอทั้งหลายเห็นกลุ่มควันกลุ่มหมอกลอยไปทางทิศตะวันออก ทิศตะวันตก ทิศเหนือ
ทิศใต้ ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง และทิศเฉียงหรือไม่” เมื่อภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนอง
พระดำรัสแล้ว จึงตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย นั่นแลคือมารผู้มีบาป ค้นหาวิญญาณ1
ของโคธิกกุลบุตรด้วยคิดว่า ‘วิญญาณของโคธิกกุลบุตรสถิตอยู่ ณ ที่ไหน’ ภิกษุ
ทั้งหลาย โคธิกกุลบุตรไม่มีวิญญาณสถิตอยู่ ปรินิพพานแล้ว”
ครั้งนั้น มารผู้มีบาปถือพิณสีเหลืองเหมือนผลมะตูมสุก เข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคถึงที่ประทับ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
ข้าพระองค์ค้นหาทั้งทิศเบื้องบน
ทิศเบื้องล่าง ทิศเบื้องขวาง
คือทั้งทิศใหญ่และทิศเฉียง ก็ไม่พบ
ท่านพระโคธิกะนั้นไป ณ ที่ไหนเล่า
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
นักปราชญ์ผู้ใดสมบูรณ์ด้วยปัญญา
มีปกติเพ่งพินิจ ยินดีในฌานทุกเมื่อ
พากเพียรอยู่ตลอดวันและคืน ไม่เสียดายชีวิต
ชนะกองทัพมัจจุแล้ว ไม่กลับมาสู่ภพใหม่
นักปราชญ์นั้น คือโคธิกกุลบุตร
ได้ถอนตัณหาพร้อมทั้งราก ปรินิพพานแล้ว
พิณได้พลัดตกจากรักแร้
ของมารผู้มีความเศร้าโศก
ในลำดับนั้น มารผู้เป็นยักษ์นั้นเสียใจ
จึงหายตัวไป ณ ที่นั้นเอง

โคธิกสูตรที่ 3 จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [4. มารสังยุต]
3. ตติยวรรค 4. สัตตวัสสานุพันธสูตร

4. สัตตวัสสานุพันธสูตร
ว่าด้วยมารหาโอกาสทำลายพระพุทธเจ้าตลอด 7 ปี

[160] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ต้นอชปาลนิโครธ ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา
ตำบลอุรุเวลา สมัยนั้น มารผู้มีบาปติดตามพระผู้มีพระภาค คอยหาโอกาส
ตลอด 7 ปี ก็ยังไม่ได้โอกาส ภายหลังมารผู้มีบาปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึง
ที่ประทับแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
ท่านถูกความเศร้าโศกทับถมหรือ
จึงมาซบเซาอยู่ในป่าอย่างนี้
ท่านเสื่อมจากทรัพย์สมบัติหรือ
หรือว่ากำลังปรารถนาอะไรอยู่
ท่านได้ทำความเสียหายร้ายแรงอะไรไว้ในหมู่บ้านหรือ
เพราะเหตุไรท่านจึงไม่เป็นมิตรกับชนทั้งปวงเล่า
หรือว่าท่านเป็นมิตรกับใคร ๆ ไม่ได้
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ท่านผู้เป็นเผ่าพันธุ์ของบุคคลผู้ประมาท
เราขุดรากของความเศร้าโศกได้หมดแล้ว
ไม่มีความเสียหาย ไม่เศร้าโศก เพ่งพินิจอยู่
เราตัดความติดแน่นคือความโลภในภพทั้งปวง
ไม่มีอาสวะ เพ่งพินิจอยู่
มารกราบทูลว่า
ชนเหล่าใดกล่าวถึงสิ่งใดว่า ‘นี้ของเรา’
ทั้งยังกล่าวว่า ‘ของเรา’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 15 หน้า :208 }