เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [4. มารสังยุต] 1. ปฐมวรรค 3. สุภสูตร

มารผู้มีบาปเอ๋ย พอกันทีสำหรับการแปลงกายของท่าน
มารผู้กระทำซึ่งที่สุด เราได้กำจัดท่านเสียแล้ว
ครั้งนั้น มารผู้มีบาปเป็นทุกข์เสียใจว่า “พระผู้มีพระภาคทรงรู้จักเรา พระสุคต
ทรงรู้จักเรา” จึงหายตัวไป ณ ที่นั้นเอง

นาคสูตรที่ 2 จบ

3. สุภสูตร
ว่าด้วยร่างกายที่งาม

[139] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคแรกตรัสรู้ประทับอยู่ที่ต้นอชปาลนิโครธใกล้ฝั่ง
แม้น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลา สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคประทับนั่งในที่กลางแจ้ง
ในราตรีอันมืดมิด และฝนกำลังตกประปรายอยู่
ครั้งนั้น มารผู้มีบาปต้องการจะให้ความกลัว ความหวาดสะดุ้ง ความขนพอง
สยองเกล้าเกิดขึ้นแก่พระผู้มีพระภาค จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับแล้ว
แสดงเพศต่าง ๆ หลากหลาย ทั้งที่งามและไม่งาม ในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า “นี้คือมารผู้มีบาป” จึงตรัสกับมาร
ผู้มีบาปด้วยพระคาถาว่า
ท่านแปลงกายทั้งที่งามและไม่งาม
ท่องเที่ยวอยู่ตลอดกาลอันยาวนาน
มารผู้มีบาปเอ๋ย พอกันทีสำหรับการแปลงกายของท่าน
มารผู้กระทำซึ่งที่สุด เราได้กำจัดท่านเสียแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 15 หน้า :177 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [4. มารสังยุต]
1. ปฐมวรรค 4. ปฐมมารปาสสูตร

ชนเหล่าใดสำรวมกาย วาจา ใจดีแล้ว
ชนเหล่านั้นย่อมไม่ตกอยู่ในอำนาจของมาร
ชนเหล่านั้นย่อมไม่เดินตามหลังมาร
ครั้งนั้น มารผู้มีบาป ฯลฯ จึงหายตัวไป ณ ที่นั้นเอง

สุภสูตรที่ 3 จบ

4. ปฐมมารปาสสูตร
ว่าด้วยบ่วงแห่งมาร สูตรที่ 1

[140] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุง
พาราณสี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย วิมุตติ(ความหลุดพ้น) อันยอดเยี่ยมเราบรรลุแล้ว วิมุตติอัน
ยอดเยี่ยมเรากระทำให้แจ้งแล้ว เพราะมนสิการโดยแยบคาย เพราะตั้งความเพียรไว้
ชอบโดยแยบคาย แม้เธอทั้งหลายก็จงบรรลุวิมุตติอันยอดเยี่ยม จงกระทำวิมุตติ
อันยอดเยี่ยมให้แจ้ง เพราะมนสิการโดยแยบคาย เพราะตั้งความเพียรไว้ชอบโดย
แยบคายเถิด”
ครั้งนั้น มารผู้มีบาปได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
ท่านได้ถูกบ่วงแห่งมาร ทั้งที่เป็นของทิพย์
ทั้งที่เป็นของมนุษย์ คล้องไว้แล้ว
ท่านได้ถูกเครื่องผูกของมารผูกไว้แล้ว
สมณะ ท่านไม่พ้นจากเราไปได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 15 หน้า :178 }