เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [3. โกสลสังยุต]
2. ทุติยวรรค 1. สัตตชฏิลสูตร

มหาบพิตร ศีลพึงรู้ได้ด้วยการอยู่ร่วมกัน ศีลนั้นจะพึงรู้ได้ด้วยกาลนาน ไม่ใช่
ด้วยกาลเล็กน้อย ผู้ใส่ใจจึงจะรู้ได้ ผู้ไม่ใส่ใจรู้ไม่ได้ ผู้มีปัญญาจึงจะรู้ได้ ผู้ไม่มี
ปัญญารู้ไม่ได้
มหาบพิตร ความสะอาดจะพึงรู้ได้ด้วยการเจรจา1 ความสะอาดนั้นจะพึงรู้ได้
ด้วยกาลนาน ไม่ใช่ด้วยกาลเล็กน้อย ผู้ใส่ใจจึงจะรู้ได้ ผู้ไม่ใส่ใจรู้ไม่ได้ ผู้มีปัญญา
จึงจะรู้ได้ ผู้ไม่มีปัญญารู้ไม่ได้
มหาบพิตร กำลัง2จะพึงรู้ได้ในคราวมีอันตราย กำลังนั้นจะพึงรู้ได้ด้วยกาลนาน
ไม่ใช่ด้วยกาลเล็กน้อย ผู้ใส่ใจจึงจะรู้ได้ ผู้ไม่ใส่ใจรู้ไม่ได้ ผู้มีปัญญาจึงจะรู้ได้ ผู้ไม่มี
ปัญญารู้ไม่ได้
มหาบพิตร ปัญญาจะพึงรู้ได้ด้วยการสนทนา ปัญญานั้นจะพึงรู้ได้ด้วยกาลนาน
ไม่ใช่ด้วยกาลเล็กน้อย ผู้ใส่ใจจึงจะรู้ได้ ผู้ไม่ใส่ใจรู้ไม่ได้ ผู้มีปัญญาจึงจะรู้ได้ ผู้ไม่มี
ปัญญารู้ไม่ได้”
พระเจ้าปเสนทิโกศลกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง
ไม่เคยปรากฏ พระผู้มีพระภาคตรัสเรื่องนี้ไว้ดียิ่งนักว่า มหาบพิตร พระองค์เป็น
คฤหัสถ์ บริโภคกาม ฯลฯ ยากที่จะรู้เรื่องนี้ ฯลฯ ผู้มีปัญญาจึงจะรู้ได้ ผู้ไม่มี
ปัญญารู้ไม่ได้”
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นักบวชเหล่านั้นเป็นคนของข้าพระองค์ เป็นบุรุษ
สอดแนม เป็นสายลับ เที่ยวสอดแนมไปยังชนบทแล้วพากันกลับมา ข้าพระองค์
จะรู้เรื่องราวหลังจากที่คนเหล่านั้นสืบมา บัดนี้คนเหล่านั้นคงจะชำระล้างละอองธุลี
นั้นแล้ว อาบสะอาดดี ลูบไล้ผิวดีแล้ว โกนผมและหนวด นุ่งห่มผ้าขาว เอิบอิ่ม
เพียบพร้อมด้วยกามคุณ 5 บำเรอข้าพระองค์อยู่”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบความนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถาเหล่านี้
ในเวลานั้นว่า


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [3. โกสลสังยุต]
2. ทุติยวรรค 2. ปัญจราชสูตร

คนผู้รู้ดี ไม่ควรไว้วางใจใครเพราะผิวพรรณและรูปร่าง
ไม่ควรไว้วางใจใครเพราะการเห็นกันชั่วครู่เดียว
เพราะว่านักบวชผู้ไม่สำรวมทั้งหลายย่อมเที่ยวไปในโลกนี้
ด้วยเครื่องบริขารของเหล่านักบวชผู้สำรวมดีแล้ว
นักบวชเหล่านั้นผู้ไม่บริสุทธิ์ในภายใน
งามแต่ภายนอก แวดล้อมด้วยบริวารท่องเที่ยวอยู่ในโลก
ดุจตุ้มหูดินและเหรียญโลหะครึ่งมาสกหุ้มด้วยทองคำปลอมไว้

สัตตชฏิลสูตรที่ 1 จบ

2. ปัญจราชสูตร
ว่าด้วยพระราชา 5 พระองค์

[123] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
สมัยนั้น พระราชา 5 พระองค์ มีพระเจ้าปเสนทิโกศลทรงเป็นประมุขผู้
เอิบอิ่มเพียบพร้อมด้วยกามคุณ 5 ได้รับบำเรออยู่ มีคำถามเกิดขึ้นในระหว่างการ
สนทนากันว่า “อะไรเป็นยอดแห่งกามทั้งหลาย”
บรรดาพระราชาเหล่านั้น บางพระองค์ตรัสอย่างนี้ว่า “รูปเป็นยอดแห่งกาม
ทั้งหลาย”
บางพระองค์ตรัสอย่างนี้ว่า “เสียงเป็นยอดแห่งกามทั้งหลาย”
บางพระองค์ตรัสอย่างนี้ว่า “กลิ่นเป็นยอดแห่งกามทั้งหลาย”
บางพระองค์ตรัสอย่างนี้ว่า “รสเป็นยอดแห่งกามทั้งหลาย”
บางพระองค์ตรัสอย่างนี้ว่า “โผฏฐัพพะเป็นยอดแห่งกามทั้งหลาย”
ในขณะนั้น พระราชาเหล่านั้นไม่อาจจะตกลงกันได้ พระเจ้าปเสนทิโกศล
จึงได้ตรัสกับพระราชาเหล่านั้นดังนี้ว่า “มาเถิดท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย พวกเราจัก
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ทูลถามความข้อนี้กับพระองค์ พระองค์ทรงพยากรณ์
แก่พวกเราอย่างใด พวกเราก็พึงจำคำพยากรณ์นั้นไว้อย่างนั้น” พระราชาเหล่านั้น
ทรงรับพระดำรัสของพระเจ้าปเสนทิโกศลแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 15 หน้า :143 }