เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [1. เทวทหวรรค] 9. มหาปุณณมสูตร

มูลเหตุแห่งอุปาทานขันธ์ 5 ประการ
ภิกษุนั้นชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคว่า “สาธุ พระพุทธเจ้าข้า”
แล้วได้ทูลถามปัญหายิ่งขึ้นไปว่า “อุปาทานขันธ์ 5 ประการนี้ มีอะไรเป็นมูลเหตุ
พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ อุปาทานขันธ์ 5 ประการนี้ มีฉันทะ
เป็นมูลเหตุ”1
“อุปาทานกับอุปาทานขันธ์ 5 ประการนั้นเป็นอย่างเดียวกัน หรืออุปาทาน
เป็นอย่างอื่นจากอุปาทานขันธ์ 5 ประการ พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุ อุปาทานกับอุปาทานขันธ์ 5 ประการนั้นเป็นอย่างเดียวกันก็มิใช่
ทั้งอุปาทานขันธ์เป็นอย่างอื่นจากอุปาทานขันธ์ 5 ประการก็มิใช่ แต่ฉันทราคะใน
อุปาทานขันธ์ 5 ประการนั้น เป็นตัวอุปาทาน”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ฉันทราคะต่าง ๆ ในอุปาทานขันธ์ 5 ประการ
จะพึงมีได้หรือ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “มีได้ ภิกษุ” แล้วได้ตรัสต่อไปว่า “ภิกษุ
บุคคลบางคนในโลกนี้มีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘ในอนาคต ขอเราพึงมีรูปอย่างนี้
มีเวทนาอย่างนี้ มีสัญญาอย่างนี้ มีสังขารอย่างนี้ มีวิญญาณอย่างนี้’
ภิกษุ ฉันทราคะต่าง ๆ ในอุปาทานขันธ์ 5 ประการ พึงมีได้ ด้วยอาการ
อย่างนี้”

เหตุที่ชื่อว่าขันธ์

ภิกษุนั้นได้ทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรขันธ์จึงชื่อ
ว่าขันธ์”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [1. เทวทหวรรค] 9. มหาปุณณมสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต
อนาคต และปัจจุบัน เป็นไปในภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือ
ประณีต ไกลหรือใกล้ก็ตาม นี้เรียกว่ารูปขันธ์
เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ...
สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ...
สังขารอย่างใดอย่างหนึ่ง ...
วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นไปใน
ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ก็ตาม นี้
เรียกว่าวิญญาณขันธ์
ภิกษุ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ขันธ์จึงชื่อว่าขันธ์”

เหตุที่ทำให้ขันธ์ปรากฏ

ภิกษุนั้นได้ทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัย
ทำให้รูปขันธ์ปรากฏ อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยทำให้เวทนาขันธ์ปรากฏ อะไรเป็นเหตุ
เป็นปัจจัยทำให้สัญญาขันธ์ปรากฏ อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยทำให้สังขารขันธ์ปรากฏ
อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยทำให้วิญญาณขันธ์ปรากฏ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ มหาภูต 4 เป็นเหตุเป็นปัจจัยทำให้
รูปขันธ์ปรากฏ ผัสสะเป็นเหตุเป็นปัจจัยทำให้เวทนาขันธ์ปรากฏ ผัสสะเป็นเหตุ
เป็นปัจจัยทำให้สัญญาขันธ์ปรากฏ ผัสสะเป็นเหตุเป็นปัจจัยทำให้สังขารขันธ์ปรากฏ
นามรูปเป็นเหตุเป็นปัจจัยทำให้วิญญาณขันธ์ปรากฏ”

เหตุเกิดสักกายทิฏฐิ

[87] ภิกษุนั้นได้ทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สักกายทิฏฐิมีได้
อย่างไร”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 14 หน้า :98 }