เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [1. เทวทหวรรค] 6. อาเนญชสัปปายสูตร

[72] อานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ปฏิบัติอย่างนี้แล้ว ย่อมได้อุเบกขา
อย่างนี้ว่า ‘สิ่งที่ไม่มีก็ไม่พึงมีแก่เรา หากจักไม่มีก็จักไม่มีแก่เรา เพราะเราจะละ
สิ่งที่กำลังมีอยู่และมีมาแล้วนั้นไป’ ภิกษุนั้นไม่เพลิดเพลิน ไม่ชื่นชม ไม่ยึดติด
อุเบกขานั้นอยู่ เมื่อเธอไม่เพลิดเพลิน ไม่ชื่นชม ไม่ยึดติดอุเบกขานั้นอยู่
วิญญาณก็อาศัยอุเบกขานั้น และยึดมั่นอุเบกขานั้นไม่ได้ อานนท์ ภิกษุผู้ไม่มี
ความยึดมั่นย่อมปรินิพพานได้”
[73] ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลว่า “น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ
พระพุทธเจ้าข้า ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยเหตุนี้จึงตรัสบอกปฏิปทา
เครื่องข้ามพ้นโอฆะแก่ข้าพระองค์ทั้งหลาย
วิโมกข์อันเป็นของพระอริยะ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุผู้เป็นอริยสาวกในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘กามที่มีในภพนี้
และกามที่มีในภพหน้า กามสัญญาที่มีในภพนี้ และกามสัญญาที่มีในภพหน้า รูป
ที่มีในภพนี้ และรูปที่มีในภพหน้า รูปสัญญาที่มีในภพนี้ และรูปสัญญาที่มีในภพหน้า
อาเนญชสัญญา อากิญจัญญายตนสัญญา และเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา
สักกายะ1มีอยู่เท่าใด นี้เป็นสักกายะ วิโมกข์(ความหลุดพ้น) แห่งจิตเพราะไม่ยึดมั่น
นั่น คืออมตะ’ อานนท์ เราแสดงปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่อาเนญชสมาบัติไว้แล้ว
แสดงปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่อากิญจัญญายตนสมาบัติไว้แล้ว แสดงปฏิปทาที่
เป็นสัปปายะแก่เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติไว้แล้ว เราอาศัยเหตุนี้แสดง
ปฏิปทาเครื่องข้ามโอฆะไว้แล้ว แสดงวิโมกข์อันเป็นของพระอริยะไว้แล้ว ด้วยประการ
อย่างนี้ กิจที่ศาสดาผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล ผู้อนุเคราะห์ อาศัยความ
อนุเคราะห์แล้วพึงทำแก่สาวกทั้งหลาย เราก็ได้ทำแล้วแก่เธอทั้งหลาย
อานนท์ นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง เธอทั้งหลายจงเพ่งฌาน อย่าประมาท
อย่าได้เป็นผู้เดือดร้อนในภายหลัง นี้เป็นคำสอนของเราสำหรับเธอทั้งหลาย”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอานนท์มีใจยินดีชื่นชมพระ
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล

อาเนญชสัปปายสูตรที่ 6 จบ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [1. เทวทหวรรค] 7. คณกโมคคัลลานสูตร

7. คณกโมคคัลลานสูตร
ว่าด้วยพราหมณ์ชื่อคณกโมคคัลลานะ

[74] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปราสาทของมิคารมาตา ใน
บุพพาราม เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแล คณกโมคคัลลานพราหมณ์เข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับแล้วได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่
ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ปราสาทของมิคารมาตาหลังนี้มีการศึกษาโดย
ลำดับ มีการกระทำโดยลำดับ มีการปฏิบัติโดยลำดับ คือโครงสร้างบันไดชั้นล่าง
ย่อมปรากฏ แม้พราหมณ์เหล่านี้ก็มีการศึกษาโดยลำดับ มีการกระทำโดยลำดับ
มีการปฏิบัติโดยลำดับ ย่อมปรากฏด้วยการเล่าเรียน แม้นักรบเหล่านี้ก็มีการ
ศึกษาโดยลำดับ มีการกระทำโดยลำดับ มีการปฏิบัติโดยลำดับ ย่อมปรากฏใน
เรื่องการใช้อาวุธ แม้แต่ข้าพเจ้าทั้งหลายผู้เป็นนักคำนวณก็มีการศึกษาโดยลำดับ
มีการกระทำโดยลำดับ มีการปฏิบัติโดยลำดับ ย่อมปรากฏในเรื่องการนับจำนวน
เพราะข้าพเจ้าทั้งหลายได้ศิษย์แล้ว เบื้องต้นให้เขานับอย่างนี้ว่า ‘หนึ่ง หมวดหนึ่ง
สอง หมวดสอง สาม หมวดสาม สี่ หมวดสี่ ห้า หมวดห้า หก หมวดหก เจ็ด
หมวดเจ็ด แปด หมวดแปด เก้า หมวดเก้า สิบ หมวดสิบ’ ย่อมให้นับไปถึง
จำนวนร้อย ให้นับไปเกินจำนวนร้อย แม้ฉันใด
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระองค์สามารถเพื่อจะบัญญัติการศึกษาโดยลำดับ
การกระทำโดยลำดับ การปฏิบัติโดยลำดับ ในพระธรรมวินัยแม้นี้ฉันนั้นบ้างไหม”

การศึกษาและการปฏิบัติเป็นขั้นตอน

[75] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พราหมณ์ เราสามารถเพื่อจะบัญญัติการ
ศึกษาโดยลำดับ การกระทำโดยลำดับ การปฏิบัติโดยลำดับ ในธรรมวินัยนี้ได้
เปรียบเหมือนคนฝึกม้าผู้ชำนาญ ได้ม้าอาชาไนยตัวงามแล้ว เบื้องต้นทีเดียว ย่อม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 14 หน้า :78 }