เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [1. เทวทหวรรค] 6. อาเนญชสัปปายสูตร

ในอายตนะ เมื่อมีความผ่องใส อริยสาวกนั้นย่อมเข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตน
สมาบัติ หรือน้อมใจไปในปัญญาในปัจจุบันได้ เป็นไปได้ที่หลังจากตายแล้ว
วิญญาณที่เป็นไปในภพนั้น ๆ พึงเป็นวิญญาณเข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า ปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่เนวสัญนาสัญญายตน
สมาบัติ”
[71] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์ได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ปฏิบัติอย่างนี้
แล้ว ย่อมได้อุเบกขาอย่างนี้ว่า ‘สิ่งที่ไม่มีก็ไม่พึงมีแก่เรา หากจักไม่มีก็จักไม่มี
แก่เรา เพราะเราจะละสิ่งที่กำลังมีอยู่และมีมาแล้วนั้นไป’ ภิกษุนั้นพึงปรินิพพาน
หรือไม่พึงปรินิพพาน พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ ภิกษุบางรูปพึงปรินิพพานในอัตภาพนี้
บางรูปไม่พึงปรินิพพานในอัตภาพนี้”
“อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ภิกษุบางรูปปรินิพพานในอัตภาพนี้ บางรูป
ไม่ปรินิพพานในอัตภาพนี้ พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุในธรรมวินัยนี้ปฏิบัติอย่างนี้แล้ว ย่อมได้อุเบกขาอย่างนี้ว่า ‘สิ่งที่ไม่มีก็
ไม่พึงมีแก่เรา หากจักไม่มีก็จักไม่มีแก่เรา เพราะเราจะละสิ่งที่กำลังมีอยู่และมีมา
แล้วนั้นไป’ ภิกษุนั้นย่อมเพลิดเพลิน ชื่นชม ยึดติดอุเบกขานั้น เมื่อเธอเพลิดเพลิน
ชื่นชม ยึดติดอุเบกขานั้นอยู่ วิญญาณย่อมเป็นอันอาศัยอุเบกขานั้น ยึดมั่น
อุเบกขานั้น อานนท์ ภิกษุผู้มีความยึดมั่นย่อมปรินิพพานไม่ได้”
“ก็ภิกษุนั้นเมื่อยึดมั่น จะยึดมั่นในธรรมข้อไหน พระพุทธเจ้าข้า”
“ย่อมยึดมั่นเนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ได้ยินว่า ภิกษุนั้นเมื่อยึดมั่น ย่อมยึดมั่นอุปาทาน
ส่วนที่สำคัญที่สุดหรือ พระพุทธเจ้าข้า”
“อานนท์ ภิกษุนั้นเมื่อยึดมั่น ย่อมยึดมั่นอุปาทานส่วนที่สำคัญที่สุด ก็
อุปาทานส่วนที่สำคัญที่สุดนี้ คือเนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 14 หน้า :76 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [1. เทวทหวรรค] 6. อาเนญชสัปปายสูตร

[72] อานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ปฏิบัติอย่างนี้แล้ว ย่อมได้อุเบกขา
อย่างนี้ว่า ‘สิ่งที่ไม่มีก็ไม่พึงมีแก่เรา หากจักไม่มีก็จักไม่มีแก่เรา เพราะเราจะละ
สิ่งที่กำลังมีอยู่และมีมาแล้วนั้นไป’ ภิกษุนั้นไม่เพลิดเพลิน ไม่ชื่นชม ไม่ยึดติด
อุเบกขานั้นอยู่ เมื่อเธอไม่เพลิดเพลิน ไม่ชื่นชม ไม่ยึดติดอุเบกขานั้นอยู่
วิญญาณก็อาศัยอุเบกขานั้น และยึดมั่นอุเบกขานั้นไม่ได้ อานนท์ ภิกษุผู้ไม่มี
ความยึดมั่นย่อมปรินิพพานได้”
[73] ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลว่า “น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ
พระพุทธเจ้าข้า ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยเหตุนี้จึงตรัสบอกปฏิปทา
เครื่องข้ามพ้นโอฆะแก่ข้าพระองค์ทั้งหลาย
วิโมกข์อันเป็นของพระอริยะ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุผู้เป็นอริยสาวกในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘กามที่มีในภพนี้
และกามที่มีในภพหน้า กามสัญญาที่มีในภพนี้ และกามสัญญาที่มีในภพหน้า รูป
ที่มีในภพนี้ และรูปที่มีในภพหน้า รูปสัญญาที่มีในภพนี้ และรูปสัญญาที่มีในภพหน้า
อาเนญชสัญญา อากิญจัญญายตนสัญญา และเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา
สักกายะ1มีอยู่เท่าใด นี้เป็นสักกายะ วิโมกข์(ความหลุดพ้น) แห่งจิตเพราะไม่ยึดมั่น
นั่น คืออมตะ’ อานนท์ เราแสดงปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่อาเนญชสมาบัติไว้แล้ว
แสดงปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่อากิญจัญญายตนสมาบัติไว้แล้ว แสดงปฏิปทาที่
เป็นสัปปายะแก่เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติไว้แล้ว เราอาศัยเหตุนี้แสดง
ปฏิปทาเครื่องข้ามโอฆะไว้แล้ว แสดงวิโมกข์อันเป็นของพระอริยะไว้แล้ว ด้วยประการ
อย่างนี้ กิจที่ศาสดาผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล ผู้อนุเคราะห์ อาศัยความ
อนุเคราะห์แล้วพึงทำแก่สาวกทั้งหลาย เราก็ได้ทำแล้วแก่เธอทั้งหลาย
อานนท์ นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง เธอทั้งหลายจงเพ่งฌาน อย่าประมาท
อย่าได้เป็นผู้เดือดร้อนในภายหลัง นี้เป็นคำสอนของเราสำหรับเธอทั้งหลาย”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอานนท์มีใจยินดีชื่นชมพระ
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล

อาเนญชสัปปายสูตรที่ 6 จบ