เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [1. เทวทหวรรค] 6. อาเนญชสัปปายสูตร

[67] อีกประการหนึ่ง อริยสาวกพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘กามที่มีในภพนี้
และกามที่มีในภพหน้า กามสัญญาที่มีในภพนี้ และกามสัญญาที่มีในภพหน้า รูป
บางชนิด และรูปทั้งหมด คือ มหาภูตรูป 4 และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป 4 ก็มีอยู่
เมื่ออริยสาวกนั้นปฏิบัติอย่างนี้แล้ว เป็นผู้มากด้วยปฏิปทานั้นอยู่ จิตย่อมผ่องใส
ในอายตนะ เมื่อมีความผ่องใส อริยสาวกนั้นย่อมเข้าถึงอาเนญชสมาบัติ หรือ
น้อมใจไปในปัญญาในปัจจุบันได้ เป็นไปได้ที่หลังจากตายแล้ว วิญญาณที่เป็นไป
ในภพนั้น ๆ พึงเป็นวิญญาณเข้าถึงสภาพหาความหวั่นไหวมิได้
ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า ปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่อาเนญชสมาบัติ
ประการที่ 2
อีกประการหนึ่ง อริยสาวกพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘กามที่มีในภพนี้ และกามที่
มีในภพหน้า กามสัญญาที่มีในภพนี้ และกามสัญญาที่มีในภพหน้า รูปที่มีในภพนี้
และรูปที่มีในภพหน้า รูปสัญญาที่มีในภพนี้ และรูปสัญญาที่มีในภพหน้า ทั้ง 2
ประการ เป็นของไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นไม่ควรยินดี ไม่ควรพูดชม ไม่ควร
ติดใจ’ เมื่ออริยสาวกนั้นปฏิบัติอย่างนี้แล้ว เป็นผู้มากด้วยปฏิปทานั้นอยู่ จิตย่อม
ผ่องใสในอายตนะ เมื่อมีความผ่องใส อริยสาวกนั้นย่อมเข้าถึงอาเนญชสมาบัติ
หรือน้อมใจไปในปัญญาในปัจจุบันได้ เป็นไปได้ที่หลังจากตายแล้ว วิญญาณที่เป็น
ไปในภพนั้น ๆ พึงเป็นวิญญาณเข้าถึงสภาพหาความหวั่นไหวมิได้
ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า ปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่อาเนญชสมาบัติ
ประการที่ 3
[68] อีกประการหนึ่ง อริยสาวกพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘กามที่มีในภพนี้
และกามที่มีในภพหน้า กามสัญญาที่มีในภพนี้ และกามสัญญาที่มีในภพหน้า
รูปที่มีในภพนี้ และรูปที่มีในภพหน้า รูปสัญญาที่มีในภพนี้ และรูปสัญญาที่มีใน
ภพหน้า และอาเนญชสัญญา สัญญาทั้งหมดนี้ย่อมดับไม่เหลือในฌานใด ฌาน
นั้นคืออากิญจัญญายตนฌาน เป็นฌานอันสงบ ประณีต’ เมื่ออริยสาวกนั้นปฏิบัติ
อย่างนี้แล้ว เป็นผู้มากด้วยปฏิปทานั้นอยู่ จิตย่อมผ่องใสในอายตนะ เมื่อมีความ
ผ่องใส อริยสาวกนั้นย่อมเข้าถึงอากิญจัญญายตนสมาบัติ หรือน้อมใจไปในปัญญาใน
ปัจจุบันได้ เป็นไปได้ที่หลังจากตายไปแล้ว วิญญาณที่เป็นไปในภพนั้น ๆ
พึงเป็นวิญญาณเข้าถึงอากิญจัญญายตนภูมิ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 14 หน้า :74 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [1. เทวทหวรรค] 6. อาเนญชสัปปายสูตร

ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า ปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่อากิญจัญญายตน
สมาบัติ ประการที่ 1
[69] อีกประการหนึ่ง อริยสาวกไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่าง
ก็ดี ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘สิ่งนี้ว่างจากอัตตา หรือสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา’ เมื่อ
อริยสาวกนั้นปฏิบัติอย่างนี้แล้ว เป็นผู้มากด้วยปฏิปทานั้นอยู่ จิตย่อมผ่องใสใน
อายตนะ เมื่อมีความผ่องใส อริยสาวกนั้นย่อมเข้าถึงอากิญจัญญายตนสมาบัติ
หรือน้อมใจไปในปัญญาในปัจจุบันได้ เป็นไปได้ที่หลังจากตายแล้ว วิญญาณที่เป็น
ไปในภพนั้น ๆ พึงเป็นวิญญาณเข้าถึงอากิญจัญญายตนภูมิ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า ปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่อากิญจัญญายตน
สมาบัติ ประการที่ 2
[70] อีกประการหนึ่ง อริยสาวกพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เราไม่มีในที่ไหน ๆ
สิ่งน้อยหนึ่งของใคร ๆ ก็ไม่มีในเรานั้น และสิ่งน้อยหนึ่งของเราก็ไม่มีในที่ไหน ๆ
ในใคร ๆ ก็ไม่มีสิ่งน้อยหนึ่งเลย’ เมื่ออริยสาวกนั้นปฏิบัติอย่างนี้แล้ว เป็นผู้มาก
ด้วยปฏิปทานั้นอยู่ จิตย่อมผ่องใสในอายตนะ เมื่อมีความผ่องใส อริยสาวกนั้น
ย่อมเข้าถึงอากิญจัญญายตนสมาบัติ หรือน้อมใจไปในปัญญาในปัจจุบันได้ เป็นไป
ได้ที่หลังจากตายแล้ว วิญญาณที่เป็นไปในภพนั้น ๆ พึงเป็นวิญญาณเข้าถึง
อากิญจัญญายตนภูมิ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า ปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่อากิญจัญญายตน
สมาบัติ ประการที่ 3
อีกประการหนึ่ง อริยสาวกพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘กามที่มีในภพนี้ และ
กามที่มีในภพหน้า กามสัญญาที่มีในภพนี้ และกามสัญญาที่มีในภพหน้า รูปที่มี
ในภพนี้ และรูปที่มีในภพหน้า รูปสัญญาที่มีในภพนี้ และรูปสัญญาที่มีในภพหน้า
อาเนญชสัญญา และอากิญจัญญายตนสัญญา สัญญาทั้งหมดนี้ย่อมดับไม่เหลือใน
ฌานใด ฌานนั้นคือเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ เป็นสมาบัติอันสงบ ประณีต’
เมื่ออริยสาวกนั้นปฏิบัติอย่างนี้แล้ว เป็นผู้มากด้วยปฏิปทานั้นอยู่ จิตย่อมผ่องใส

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 14 หน้า :75 }