เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [1. เทวทหวรรค] 5. สุนักขัตตสูตร

เวลา และทายาสมานแผลตามเวลา เมื่อเขาล้างแผลและทายาสมานแผลตาม
เวลา น้ำเหลืองและเลือดก็ไม่ปิดปากแผล เขาไม่เที่ยวตากลมตากแดดเนือง ๆ
เมื่อเขาไม่เที่ยวตากลมตากแดดเนือง ๆ ละอองและสิ่งโสโครกจึงไม่ถูกปากแผล
เขาคอยรักษาแผลอยู่จนปากแผลสมานหายสนิท เพราะการกระทำอย่างถูกต้องนี้
แผลจึงหายได้ด้วยเหตุ 2 ประการ คือ (1) กำจัดโทษคือพิษอันเกิดจากความ
ไม่สะอาด (2) กำจัดโทษคือพิษจนไม่มีเชื้อหลงเหลืออยู่ เพราะแผลหายแล้วเขา
จึงมีผิวพรรณเรียบสนิท จึงไม่พึงถึงความตายหรือทุกข์ปางตาย แม้ฉันใด
สุนักขัตตะ เป็นไปได้ฉันนั้นเหมือนกัน ที่ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ พึงมี
ความคิดอย่างนี้ว่า ‘พระสมณะตรัสลูกศรคือตัณหาไว้แล้วว่า ‘โทษอันเป็นพิษคือ
อวิชชาย่อมงอกงามได้ด้วยฉันทราคะและพยาบาท เราละลูกศรคือตัณหานั้นได้แล้ว
กำจัดโทษอันเป็นพิษคืออวิชชาได้แล้ว จึงเป็นผู้มีใจน้อมไปในนิพพานโดยชอบ’
เมื่อภิกษุนั้นมีใจน้อมไปในนิพพานโดยชอบอยู่นั่นแล เธอจึงไม่ประกอบเนือง ๆ
ซึ่งอารมณ์อันไม่เป็นสัปปายะแห่งใจอันน้อมไปในนิพพานโดยชอบ ไม่ประกอบการ
ดูรูปอันไม่เป็นสัปปายะทางตาเนือง ๆ ไม่ประกอบการฟังเสียงอันไม่เป็นสัปปายะ
ทางหูเนือง ๆ ไม่ประกอบการดมกลิ่นอันไม่เป็นสัปปายะทางจมูกเนือง ๆ ไม่ประกอบ
การลิ้มรสอันไม่เป็นสัปปายะทางลิ้นเนือง ๆ ไม่ประกอบการถูกต้องโผฏฐัพพะอันไม่
เป็นสัปปายะทางกายเนือง ๆ ไม่ประกอบการรับรู้ธรรมารมณ์อันไม่เป็นสัปปายะ
ทางใจเนือง ๆ เมื่อภิกษุนั้นไม่ประกอบการดูรูปอันไม่เป็นสัปปายะทางตาเนือง ๆ
ไม่ประกอบการฟังเสียงอันไม่เป็นสัปปายะทางหูเนือง ๆ ไม่ประกอบการดมกลิ่นอัน
ไม่เป็นสัปปายะทางจมูกเนือง ๆ ไม่ประกอบการลิ้มรสอันไม่เป็นสัปปายะทางลิ้น
เนือง ๆ ไม่ประกอบการถูกต้องโผฏฐัพพะอันไม่เป็นสัปปายะทางกายเนือง ๆ ไม่
ประกอบการรับรู้ธรรมารมณ์อันไม่เป็นสัปปายะทางใจเนือง ๆ แล้ว ราคะก็
ครอบงำจิตไม่ได้ เธอมีจิตไม่ถูกราคะครอบงำแล้ว จึงไม่พึงถึงความตายหรือ
ทุกข์ปางตาย
[65] สุนักขัตตะ เพื่อให้รู้เนื้อความ เราจึงทำอุปมานี้ไว้ ในอุปมานี้มีเนื้อ
ความดังต่อไปนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 14 หน้า :70 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [1. เทวทหวรรค] 5. สุนักขัตตสูตร

คำว่า ‘แผล’ นี้ เป็นชื่อของอายตนะภายใน 6
คำว่า ‘โทษคือพิษ’ นี้ เป็นชื่อของอวิชชา
คำว่า ‘ลูกศร’ นี้ เป็นชื่อของตัณหา
คำว่า ‘เครื่องตรวจ’ นี้ เป็นชื่อของสติ
คำว่า ‘มีดผ่าตัด’ นี้ เป็นชื่อของอริยปัญญา1
คำว่า ‘หมอผ่าตัด’ นี้ เป็นชื่อของตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
สุนักขัตตะ เป็นไปไม่ได้ที่ภิกษุนั้นทำความสำรวมในผัสสายตนะ 6 จึงรู้ดังนี้ว่า
‘อุปธิ2เป็นรากเง่าแห่งทุกข์” จึงเป็นผู้ปราศจากอุปธิ หลุดพ้นแล้วในธรรมเป็นที่สิ้น
ไปแห่งอุปธิ3 จักน้อมกายหรือปล่อยจิตไปในอุปธิ4
เปรียบเหมือนภาชนะมีน้ำดื่มเต็มเปี่ยม สมบูรณ์ด้วยสี สมบูรณ์ด้วยกลิ่น
สมบูรณ์ด้วยรส แต่เจือด้วยยาพิษ ต่อมาบุรุษผู้รักชีวิตยังไม่อยากตาย รักสุข
เกลียดทุกข์มาพบเข้า
สุนักขัตตะ เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ บุรุษนั้นจะพึงดื่มน้ำที่เต็ม
เปี่ยมภาชนะนั้น ทั้งที่รู้ว่า ‘ดื่มแล้วจะต้องตายหรือทุกข์ปางตาย’ บ้างไหม”
“ไม่ดื่ม พระพุทธเจ้าข้า”
“สุนักขัตตะ เป็นไปไม่ได้ฉันนั้นเหมือนกัน ที่ภิกษุนั้นทำความสำรวมใน
ผัสสายตนะ 6 รู้ดังนี้ว่า ‘อุปธิเป็นรากเง่าแห่งทุกข์ ฯลฯ’
เปรียบเหมือน ต่อมาบุรุษผู้รักชีวิตยังไม่อยากตาย รักสุขเกลียดทุกข์ มา
พบอสรพิษมีพิษร้ายแรงเข้า