เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [1. เทวทหวรรค] 5. สุนักขัตตสูตร

“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
“เพราะว่าภัตนั้นตนเองรู้สึกว่าเป็นของไม่น่ากินเสียแล้ว พระพุทธเจ้าข้า”
“สุนักขัตตะ ความเกี่ยวข้องในอากิญจัญญายตนสมาบัติ ก็ถูกบุรุษบุคคล
ผู้น้อมใจไปในเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติคายได้แล้ว อย่างนั้นเหมือนกัน
บุรุษบุคคลนั้นบัณฑิตพึงทราบว่า ‘เป็นบุรุษบุคคลผู้เหินห่างจากความเกี่ยวข้องกับ
อากิญจัญญายตนสมาบัติ มีแต่น้อมใจไปในเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ’
[62] สุนักขัตตะ เป็นไปได้ที่บุรุษบุคคลบางคนในโลกนี้ พึงเป็นผู้น้อมใจไป
ในนิพพานโดยชอบ บุรุษบุคคลผู้น้อมใจไปในนิพพานโดยชอบ สนทนาแต่เรื่องที่
เหมาะแก่นิพพานโดยชอบนั้นเท่านั้น ย่อมตรึกตรองธรรมอันสมควรแก่นิพพาน
โดยชอบนั้น คบแต่คนประเภทนั้น และถึงความปลื้มใจกับคนประเภทนั้น แต่
เมื่อมีใครสนทนาเกี่ยวกับเรื่องเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ย่อมไม่สนใจฟัง
ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งใจรับรู้ ไม่คบคนประเภทนั้น และไม่ถึงความปลื้มใจกับคน
ประเภทนั้น
เปรียบเหมือนตาลยอดด้วนไม่อาจงอกงามได้อีก แม้ฉันใด ความเกี่ยวข้อง
ในเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ก็ถูกบุรุษบุคคลผู้น้อมใจไปในนิพพานโดยชอบ
ถอนขึ้นได้ ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่
ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ฉันนั้นเหมือนกัน บุรุษบุคคลนั้นบัณฑิตพึงทราบว่า
‘เป็นบุรุษบุคคลผู้เหินห่างจากความเกี่ยวข้องกับเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ
มีแต่น้อมใจไปในนิพพานโดยชอบ’
[63] สุนักขัตตะ เป็นไปได้ที่ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ พึงมีความคิดอย่าง
นี้ว่า ‘พระสมณะตรัสลูกศรคือตัณหาไว้แล้วว่า ‘โทษอันเป็นพิษคืออวิชชา ย่อม
งอกงามได้ด้วยฉันทราคะและพยาบาท เราละลูกศรคือตัณหานั้นได้แล้ว กำจัดโทษ
อันเป็นพิษคืออวิชชาได้แล้ว จึงเป็นผู้มีใจน้อมไปในนิพพานโดยชอบ’ เรื่องต่อไปนี้
มีเนื้อความดังนี้ ภิกษุนั้นพึงประกอบเนือง ๆ ซึ่งอารมณ์อันไม่เป็นสัปปายะ1แห่งใจ
อันน้อมไปในนิพพานโดยชอบ พึงประกอบการดูรูปอันไม่เป็นสัปปายะทางตา


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [1. เทวทหวรรค] 5. สุนักขัตตสูตร

เนือง ๆ พึงประกอบการฟังเสียงอันไม่เป็นสัปปายะทางหูเนือง ๆ พึงประกอบ
การดมกลิ่นอันไม่เป็นสัปปายะทางจมูกเนือง ๆ พึงประกอบการลิ้มรสอันไม่เป็น
สัปปายะทางลิ้นเนือง ๆ พึงประกอบการถูกต้องโผฏฐัพพะอันไม่เป็นสัปปายะทาง
กายเนือง ๆ พึงประกอบการรับรู้ธรรมารมณ์อันไม่เป็นสัปปายะทางใจเนือง ๆ
เมื่อภิกษุนั้นประกอบการดูรูปอันไม่เป็นสัปปายะทางตาเนือง ๆ ประกอบการฟัง
เสียงอันไม่เป็นสัปปายะทางหูเนือง ๆ ประกอบการดมกลิ่นอันไม่เป็นสัปปายะทาง
จมูกเนือง ๆ ประกอบการลิ้มรสอันไม่เป็นสัปปายะทางลิ้นเนือง ๆ ประกอบการ
ถูกต้องโผฏฐัพพะอันไม่เป็นสัปปายะทางกายเนือง ๆ ประกอบการรับรู้ธรรมารมณ์
อันไม่เป็นสัปปายะทางใจเนือง ๆ แล้ว ราคะพึงครอบงำจิตได้ เธอมีจิตถูกราคะ
ครอบงำแล้ว พึงถึงความตายหรือทุกข์ปางตาย
เปรียบเหมือนคนถูกยิงด้วยลูกศรที่อาบยาพิษอย่างร้ายแรง มิตร อำมาตย์
ญาติสาโลหิตของเขาจึงหาหมอผ่าตัดมารักษา หมอผ่าตัดนั้นใช้มีดผ่าปากแผล
แล้วใช้เครื่องตรวจหาลูกศร ตรวจพบลูกศรแล้วจึงถอนออก พึงกำจัดโทษคือพิษที่
ยังมีเชื้อเหลือติดอยู่ จนรู้ว่า ‘ไม่มีเชื้อหลงเหลืออยู่’ หมอผ่าตัดนั้นพึงกล่าวอย่างนี้ว่า
‘พ่อมหาจำเริญ เราถอนลูกศรให้ท่านแล้ว โทษคือพิษเราก็กำจัดจนไม่มีเชื้อหลง
เหลือแล้ว ท่านพ้นขีดอันตรายแล้ว แต่ต้องรับประทานอาหารที่ไม่แสลง เมื่อท่าน
จำเป็นต้องรับประทานอาหารที่แสลง ก็อย่าถึงกับให้แผลต้องกำเริบ และท่านต้อง
ล้างแผลตามเวลา ทายาสมานแผลตามเวลา เมื่อท่านล้างแผลและทายาสมาน
แผลตามเวลา ก็อย่าให้น้ำเหลืองและเลือดปิดปากแผลได้ และท่านอย่าเที่ยวตาก
ลมตากแดดเนือง ๆ เมื่อท่านเที่ยวตากลมตากแดดเนือง ๆ ก็อย่าให้ละอองหรือ
สิ่งโสโครกถูกปากแผลได้ ท่านต้องรักษาแผลอยู่จนกว่าแผลจะสมานกันดี’
บุรุษนั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘หมอถอนลูกศรให้เราแล้ว โทษคือพิษหมอก็
กำจัดจนไม่มีเชื้อหลงเหลือแล้ว เราพ้นขีดอันตรายแล้ว’ เขาจึงรับประทานอาหาร
ที่แสลง เมื่อเขารับประทานอาหารที่แสลง แผลก็กำเริบ เขาไม่ล้างแผลตามเวลา
และไม่ทายาสมานแผลตามเวลา เมื่อเขาไม่ล้างแผลและไม่ทายาสมานแผล
ตามเวลา น้ำเหลืองและเลือดก็ปิดปากแผล เขาเที่ยวตากลมตากแดดเนือง ๆ
เมื่อเขาเที่ยวตากลมตากแดดเนือง ๆ ละอองและสิ่งโสโครกจึงถูกปากแผล เขาไม่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 14 หน้า :67 }